วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

กฎหมายทะเบียนราษฎร

กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดระเบียบปฏิบัติในการแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน โดยได้กำหนดไว้ว่าเมื่อมีคนเกิดในบ้านเจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ภายในเวลา 15 วันนับแต่วันเกิด เมื่อมีคนตายเจ้าบ้าจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาตาย เมื่อบุคคลย้ายออกจากบ้านหรือย้ายเข้ามาอยู่ในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายในเวลา 15 วัน
2.1 สถานที่แจ้งเกิด
1) ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เป็นกฎหมายสำคัญที่กำหนดระเบียบปฏิบัติ การแจ้งเกิด การแจ้งตาย การย้ายที่อยู่ การจัดทำทะเบียนคนและทะเบียนบ้าน เป็นกฎหมายที่ใกล้ตัวเกี่ยวข้องกับตนเองและสังคมเป็นอย่างมาก เมื่อคนเกิดมาจะต้องทำอย่างไร เป็นหน้าที่ของใครที่จะแจ้งเกิด ไปแจ้งที่ไหน หรือเมื่อมีคนตายผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องปฏิบัติอย่างไร เมื่อต้องการย้ายที่อยู่จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายอย่างไร

 ประโยชน์ของกฎหมายเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎร

กรณีตัวอย่าง การพัฒนาด้านการศึกษา จากการที่รู้ข้อมูลว่าจำนวนประชากรในแต่ละท้องถิ่นมีความหนาแน่นเพียงไร มีอัตราการเพิ่มอย่างไร ก็สามารถเป็นข้อมูลของรัฐบาลที่จะให้งบประมาณในด้านการสร้างโรงเรียน หรือในด้านการคมนาคม การที่จะให้มีการพัฒนาด้านการสร้างถนนหนทางไปในท้องถิ่นต่างๆ ก็ต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร ความหนาแน่นของบ้านเรือน เหล่านี้เป็นต้น หรือในด้านสาธารณสุขในเรื่องของการป้องกันโรคระบาด เมื่อในท้องที่ใดมีการแจ้งตายด้วยโรคระบาดก็สามารถเร่งให้มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคระบาดให้แก่คนในท้องถิ่นนั้นได้โดยรวดเร็วเพื่อป้องกันโรคระบาด เป็นต้น

2.คนเกิด
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขตการแจ้งเกิดในกรณีคนเกิดในบ้าน เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ การไปแจ้งเกิดกรณีคนเกิดในบ้าน ผู้แจ้งต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วยทุกครั้ง เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดแล้ว จะมอบสูติบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานสูติบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก เพราะเป็นเอกสารที่แสดงถึงชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาสตราบเท่าที่มีชีวิตอยู่



3.คนตาย

3.1 การแจ้งตาย เมื่อมีคนตายให้แจ้งตายดังต่อไปนี้
1)คนตายในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้านให้ผู้พบศพเป็นผู้แจ้งการตายภายใน 24 ชั่วโมงนับแต่เวลาพบศพ
2)คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตายหรือผู้พบศพแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตายหรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 24 ชั่วโมง นับแต่เวลาตายหรือพบศพ หรือจะแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจก็ได้ ถ้าในท้องที่ใดการคมนาคมไม่สะดวก ผู้อำนวยการทะเบียนกลางอาจขยายเวลาออกไปตามที่เห็นสมควร แต่ต้องไม่เกิน 7 วัน นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ การแจ้งตายกรณีคนตายในบ้าน เจ้าบ้านจะมอบหมายให้ผู้ใดไปแจ้งแทนก็ได้ โดยผู้แจ้งจะต้องนำสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านไปด้วย
3.2 สถานที่แจ้งตาย
1)ในเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเทศบาล
2) นอกเขตเทศบาล ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล ซึ่งได้แก่ บ้านของกำนันผู้ใหญ่บ้าน หรือข้าราชการอื่นที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งให้เป็นนายทะเบียนตำบล
3) ในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งตั้งอยู่ ณ สำนักงานเขต การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน เป็นหน้าที่เจ้าบ้านแต่จะมอบหมายให้ผู้อื่นที่อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ไม่ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ ถ้าจะมอบให้บุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเดียวกันไปดำเนินการแทน ต้องทำหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษร

การแจ้งตายในกรณีคนตายในบ้าน และผู้นั้นมีชื่อยู่ในทะเบียนบ้านด้วย เมื่อไปแจ้งต้องต้องนำสำเนาทะเบียนฉบับเจ้าบ้านไปด้วย และเมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการตายจะมอบมรณบัตรให้แก่ผู้แจ้งเป็นหลักฐานมรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล

4. การย้ายที่อยู่
การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งด้วย



5.การขอแก้ทะเบียนราษฎร

ในกรณีที่ทะเบียนคนเกิด ทะเบียนบ้าน หรือเอกสารอื่นใดเกี่ยวกับการทะเบียนราษฎรของบุคคลไม่ตรงกับหลักฐานที่มีอยู่ ให้ไปติดต่ออำเภอหรือเทศบาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ในการติดต่อทางราชการ เพื่อการนี้ควรนำหลักฐานเอกสารของทางราชการที่มีอยู่ไปแสดง เช่น
1.สูติบัตร มรณบัตร
2.บัตรประจำตัวประชาชน
3.ใบสำคัญทางทหาร
4.เอกสารการสมรา การหย่า
5.สำเนาทะเบียนบ้าน
6.ใบสุทธิ
7.หลักฐานเกี่ยวกับสัญชาติ
8.หนังสือเดินทางมาหรือไปต่างประเทศ
9.หลักฐานอื่นๆ ถ้ามี

การย้ายที่อยู่จะต้องมีการแจ้งการย้ายออกจากทะเบียนบ้านเดิม แล้วจะต้องแจ้งย้ายเข้าในทะเบียนบ้านใหม่ซึ่งผู้นั้นย้ายไปอยู่ การแจ้งย้ายที่อยู่ให้ดำเนินการต่อไปนี้
4.1 การย้ายออก เมื่อมีบุคคลใดบ้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าของบ้าน หรือผู้แทนที่จะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ดังกล่าวต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งภายในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
4.2 การย้ายเข้า เมื่อบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาอยู่ในบ้านใดบ้านหนึ่ง กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าบ้านที่จะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ดังกล่าวภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า ถ้าเจ้าบ้านไม่แจ้งในกำหนดเวลา มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การแจ้งย้ายผู้ใดเข้ามาอยู่ในบ้าน เจ้าบ้านจะต้องนำหลักฐานการย้ายออกของผู้นั้นไปแสดงต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งด้วย

2.1 การแจ้งเกิด เมื่อมีคนเกิดให้แจ้งเกิดดังต่อไปนี้
1) คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิดในกรณีคนเกิดในโรงพยาบาล ซึ่งในโรงพยาบาลบางแห่งเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลจะบริการไปแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนท้องที่ที่คนเกิด โดยปฏิบัติตามกำหนดเวลาดังกล่าว หรือถ้าเป็นโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร บางแห่งจะมีสำนักงานทะเบียนท้องที่นั้นประจำอยู่ที่โรงพยาบาล โดยมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในด้านบริการรับแจ้งเกิด
2) คนเกิดนอกบ้าน ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียน ผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้าน หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ภายใน 15 วันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนดให้แจ้งภายหลังได้ แต่ต้องไม่เกิน 30 วันนับแต่วันเกิด ถ้าบิดามารดาประสงค์จะเปลี่ยนชื่อบุตรนั้น ให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่แจ้งชื่อคนเกิดต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจัดการเปลี่ยนชื่อให้ โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม 25 บาท
3) ผู้ที่พบเด็กในสภาพแรกเกิดหรือเด็กอ่อนซึ่งถูกทอดทิ้ง ให้นำเด็กนั้นไปส่งและแจ้งต่อพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ หรือเจ้าหน้าที่ประชาสงเคราะห์แห่งท้องที่ที่พบเด็กนั้นโดยเร็ว
การที่กฎหมายเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรได้กำหนดให้มีทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย ทะเบียนบ้านจะเป็นประโยชน์ทำให้รู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากรในประเทศ โดยรู้ว่าในบ้านหนึ่งในท้องที่หนึ่งมีประชากรกี่คน เป็นเพศอะไรบ้าง แต่ละคนมีความสัมพันธ์กันอย่างไร มีการโยกย้ายออกไปหรือเข้ามาในท้องถิ่นนั้นอย่างไร มีจำนวนประชากรเพิ่มหรือลดลงจากการเกิดการตายเท่าใด จำนวนประชาการในแต่ละท้องถิ่นมีจำนวนมากน้อยเพียงไร ซึ่งความรู้ในข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายปกครองและฝ่ายบริหารบ้านเมือง เพื่อที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศต่อไป


กฎหมายการเกณฑ์ทหาร

การเกณฑ์ทหารในประเทศไทยในปัจจุบัน อาศัยความตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 กำหนดให้ชายไทยทุกคนมีหน้าที่ต้องเข้ารับราชการทหาร และยังเป็นหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญอีกด้วย ขั้นตอนการเกณฑ์ทหารเริ่มต้นจากการลงบัญชีทหารกองเกินของชายไทยไว้ก่อน และจะมีการเรียกผู้ที่ลงบัญชีไว้มาตรวจเลือกเอาคนที่ทางทหารเห็นว่าเหมาะสมไปตามจำนวนที่ต้องการเพื่อเข้ารับราชการทหารกองประจำการ
ชายไทยจำนวนมากไม่ต้องผ่านการเกณฑ์ทหารเพราะผ่านการเรียนรักษาดินแดนครบสามปี ส่วนผู้ที่ไม่ได้เรียนรักษาดินแดนหรือเรียนไม่ครบตามกำหนดหลักสูตรและไม่มีข้อยกเว้นอย่างอื่นต้องเข้าสู่กระบวนการตรวจเลือก ผู้ที่ศึกษาอยู่ หรือ ผู้ที่มีความจำเป็นต่างๆ และผู้ที่กฎหมายเห็นว่ามีเหตุอันสมควร จะสามารถไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก หรือ ไปรับการตรวจเลือกแต่ได้รับการผ่อนผันและแต่กรณีซึ่งมักเป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่บัญญัติไว้ในกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขอย่างต่อเนื่องตลอดเวลากว่า 50 ปีของการประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
เนื่องจากกฎหมายทหารมีความซับซ้อนและมีกฎกระทรวงจำนวนมากออกมาแก้ไขกฎกระทรวงเก่าหรือยกเลิกกฎกระทรวงเก่าเป็นเหตุให้ผู้ที่ไม่เข้าใจขั้นตอนการเกณฑ์ทหารหลงเชื่อมิจฉาชีพซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่ทางฝ่ายทหารหรือฝ่ายปกครองเองยอมจ่ายสินบนเพื่อเป็นการตอบแทนในการช่วยให้พ้นจากการรับราชการทหาร

การลง ชายที่มีสัญชาติไทย เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี บริบูรณ์ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินภายในพุทธศักราชนั้น ที่อำเภอท้องที่ที่มีภูมิลำเนาอยู่โดยจะได้รับใบสำคัญ สด. ๙ เมื่อลงบัญชี ณ อำเภอใดแล้ว อำเภอนั้นจะเป็นภูมิลำเนาทหารของทหารกองเกินผู้นั้น ภูมิลำเนาทหารเป็นภูมิลำเนาเฉพาะไม่เกี่ยวข้องกับทะเบียนบ้านหรือสำมะโนครัว การจะย้ายภูมิลำเนาทหารต้องกระทำที่อำเภอแยกต่างหากจากการย้ายภูมิลำเนาตามทะเบียนราษฎร์ ทหารกองเกินที่ย้ายทะเบียนราษฎร์จะย้ายภูมิลำเนาทหารด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน้าที่แจ้งต่อนายอำเภอทุกครั้งที่ไปอยู่ต่างถิ่งเป็นเวลาเกินกว่า 30 วัน หากไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองร้อยบาท
ภูมิลำเนาทหารมีความสำคัญต่อทหารกองเกินอย่างมากเพราะเป็นสถานที่ที่ทหารกองเกินต้องไปรับการตรวจเลือก ในแต่ละท้องที่ก็มีจำนวนทหารกองเกินและความต้องการของฝ่ายทหารที่กำหนดมาต่างกัน การอยู่ในภูมิลำเนาทหารที่ต่างกันจึงมีผลต่อการตรวจเลือกเข้ารับกองประจำการ และเป็นช่องทางให้มีผู้หลีกเลี่ยงการเป็นทหารใช้หลบเลี่ยงไปได้
ทหารกองเกินเมื่อมีอายุย่างเข้า 21 ปี ในพุทธศักราชใด ต้องไปแสดงตนเพื่อรับหมายเรียกที่อำเภอท้องที่ซึ่งเป็นภูมิลำเนาทหารของตนภายในพุทธศักราชนั้น โดยจะได้รับหมายเรียก สด. ๓๕ ทหารกองเกินซึ่งจะถูกเรียกมาตรวจคัดเลือก เพื่อเข้ารับราชการเป็นทหารกองประจำการนั้น ต้องมีอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป แต่ยังไม่ถึง 30 ปีบริบูรณ์
ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ขึ้นบัญชีทหารกองเกินหรือไม่มารับหมายเรียกต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าก่อนที่เจ้าหน้าที่ยกเรื่องขึ้นพิจารณาความผิด ผู้นั้นได้มาขอลงบัญชีทหารกองเกิน หรือ มารับหมายเรียกแล้ว ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นักศึกษาวิชาทหารที่สำเร็จหลักสูตรชั้นปีที่ 3 แล้ว ให้ขึ้นทะเบียนกองประจำการแล้วปลดเป็นทหารกองหนุนประเภทที่ 1 โดยไม่ต้องเข้ารับราชการกองประจำการ ได้รับหนังสือสำคัญ สด. ๘ พร้อมกับสมุดประจำตัวทหารกองหนุน ทั้งนี้เนื่องจากมิได้มีสถานะทหารกองเกินแล้วจึงไม่ต้องรับหมายเรียกและไม่ต้องไปรับการตรวจเลือก แต่อาจถูกเรียกพลในฐานะทหารกองหนุนได้ซึ่งการเรียกพลนี้มิไดเรียกทุกคน
การยกเว้น การไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก และการผ่อนผัน

กฎหมายการศึกษา

หมวด 1 บททั่วไป ความมุ่งหมายและหลักการ
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรง
ชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
.
การจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง สำหรับเรื่องการจัดระบบ โครงสร้างและกระบวนการจัดการศึกษา ให้ยึดหลักดังนี้
1) มีเอกภาพด้านนโยบายและมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
2) มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น
3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาและจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุก ระดับและประเภท
4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากร ทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
5) ระดมทรัพยากรจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
6) การมีส่วนร่วมของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอก
ชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น


หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึง
และมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
- บุคคล ซึ่งมีความบกพร่องทางด้านต่าง ๆ หรือมีร่างกายพิการ หรือมีความต้องการเป็นพิเศษ หรือผู้ด้อย
โอกาสมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ - บิดามารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลในความดูแลได้รับการศึกษาทั้งภาคบังคับ และนอก
เหนือจากภาคบังคับตามความพร้อมของครอบครัว


- บิดามารดา บุคคล ชุมชน องค์กร และสถาบันต่าง ๆ ทางสังคมที่สนับสนุนหรือจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีสิทธิ
ได้รับสิทธิประโยชน์ตามควรแก่กรณีดังนี้- การสนับสนุนจากรัฐให้มีความรู้ ความสามารถในการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่บุตรหรือผู้ซึ่งอยู่ใน
ความดูแล รวมทั้งเงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายการศึกษา


หมวด 3 ระบบการศึกษา
การจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาน
ศึกษาจัดได้ทั้งสามรูปแบบ และให้มีการเทียบโอนผลการเรียนที่ผู้เรียนสะสมไว้ระหว่างรูปแบบเดียวกันหรือ
ต่างรูปแบบได้ ไม่ว่าจะเป็นผลการเรียนจากสถานศึกษาเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
การศึกษาในระบบมีสองระดับ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งจัดไม่น้อยกว่า 12 ปี ก่อนระดับอุดมศึกษา และ
ระดับอุดมศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่ำกว่าปริญญา และระดับปริญญา
ให้มีการศึกษาภาคบังคับเก้าปี นับจากอายุย่างเข้าปีที่เจ็ด จนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก หรือเมื่อสอบได้ชั้นปีที่เก้า
ของการศึกษาภาคบังคับ
- สำหรับเรื่องสถานศึกษานั้น การศึกษาปฐมวัย และการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้จัดใน
1) สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
2) โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนของรัฐ เอกชน และโรงเรียนที่สังกัดสถาบันศาสนา
3) ศูนย์การเรียน ได้แก่ สถานที่เรียนที่หน่วยงานจัดการศึกษานอกโรงเรียน บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร
ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ โรง
พยาบาล สถาบันทางการแพทย์ สถานสงเคราะห์ และสถาบันสังคมอื่นเป็นผู้จัด - การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้จัดในมหาวิทยาลัย สถาบัน วิทยาลัย หรือ หน่วยงานทื่เรียกชื่ออย่างอื่น
ทั้งนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - การจัดการอาชีวศึกษา การฝึกอบรมวิชาชีพ ให้จัดในสถานศึกษาของรัฐ สถาน ศึกษาของเอกชน สถาน
ประกอบการ หรือโดยความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ กระทรวง ทบวง กรม รัฐ
วิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ อาจจัดการศึกษา เฉพาะทางตามความต้องการและความชำนาญของหน่วย
งานนั้นได้โดยคำนึงถึงนโยบายและมาตรฐานการศึกษาของชาติ

หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนทุกคน สามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้
ดังนั้นกระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
การจัดการศึกษาทั้งสามรูปแบบในหมวด 3 ต้องเน้นทั้งความรู้ คุณธรรม และ กระบวนการเรียนรู้
ในเรื่องสาระความรู้ ให้บูรณาการความรู้และทักษะด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับแต่ ละระดับการศึกษา ได้แก่
ด้านความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคม ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้าน
ศาสนา ศิลป วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา ด้านภาษา โดยเฉพาะการใช้
ภาษาไทย ด้านคณิตศาสตร์ ด้านการประกอบอาชีพ และการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
ในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้ให้จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมที่สอดคล้องกับ ความสนใจ ความถนัดของผู้
เรียน และความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งให้ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการการเผชิญสถานการณ์
และการประยุกต์ความรู้มาใช้ป้องกันและแก้ปัญหา จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติจริง ผสมผสานสาระความ
รู้ด้านต่าง ๆ อย่างสมดุล และปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในทุกวิชา
นอกจากนั้น ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ยังต้องส่งเสริมให้ผู้สอน จัดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อ
การเรียนรู้ ใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ
และแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือ
กับผู้ปกครองและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน และการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ
การประเมินผลผู้เรียน ให้สถานศึกษาพิจารณาจากพัฒนาการของผู้เรียน ความ ประพฤติ การสังเกตพฤติ
กรรมการเรียน การร่วมกิจกรรม และการทดสอบ ส่วนการจัดสรรโอกาสการเข้าศึกษาต่อ ให้ใช้วิธีการที่
หลากหลายและนำผลการประเมินผู้เรียนมาใช้ประกอบด้วย
หลักสูตรการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท ต้องมีความหลากหลาย โดยส่วน กลางจัดทำหลักสูตรแกนกลาง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เน้นความเป็นไทยและความเป็นพลเมืองดี การดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพตลอด
จนเพื่อการศึกษาต่อและให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานจัดทำหลักสูตรในส่วนที่เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและ
สังคม ภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณลักษณะของสมาชิกที่ดีของครอบครัว ชุมชนสังคมและประเทศชาติ สำหรับ
หลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพิ่มเรื่องการพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้าวิจัย เพื่อพัฒนา
องค์ความรู้และสังคมศึกษา


หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
ส่วนที่ 1 การบริหารและการจัดการศึกษาของรัฐ แบ่งเป็นสามระดับ คือ ระดับชาติ ระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา เพื่อเป็นการกระจายอำนาจ
ลงไปสู่ท้องถิ่น และสถานศึกษาให้มากที่สุด
1.1 ระดับชาติ ให้มีกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีอำนาจหน้าที่ กำกับดูแลการศึกษาทุกระดับและทุกประเภท
รวมทั้ง การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม กำหนดนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษาสนับสนุนทรัพยากร
รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการจัดการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม
กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีองค์กรหลักที่เป็นคณะ บุคคลในรูปสภาหรือคณะกรรมการสี่
องค์กร คือ
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คณะกรรมการการอุดมศึกษา
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม
.
มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นหรือให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐ มนตรีและมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่
กฎหมายกำหนด
.
ให้สำนักงานของทั้งสี่องค์กรเป็นนิติบุคคล มีคณะกรรมการแต่ละองค์กร ประกอบด้วยกรรมการ โดย
ตำแหน่งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรวิชา
ชีพ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนกรรมการประเภทอื่นรวมกัน มีเลขาธิการของแต่ละสำนัก
งาน เป็นกรรมการและเลขานุการ
.
สภาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแห่งชาติ มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน และมาตรฐานการศึกษา
ของชาติ นโยบายและแผนด้านศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม การสนับสนุนทรัพยากร การประเมินผลการจัด
การศึกษา การดำเนินการด้านศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายและกฎกระทรวง
.
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา มาตรฐานและหลักสูตรแกน
กลางการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุน
ทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอด
คล้องกับแผนการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจ
สอบ และประเมินผลการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระตามกฎหมายว่าด้วยการ
จัดตั้งสถานศึกษาแต่ละแห่ง
.
คณะกรรมการการศาสนาและวัฒนธรรม มีหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบายและแผนพัฒนาที่สอดคล้องกับแผน
การศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ การสนับสนุนทรัพยากร การติดตาม ตรวจสอบและประเมิน
ผลการดำเนินการด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติ
บุคคล ดำเนินการจัดการศึกษาและอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการจัด
ตั้งสถานศึกษานั้น ๆ
1.2 ระดับเขตพื้นที่การศึกษา การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการอุดมศึกษาระดับต่ำ กว่าปริญญา ให้ยึดเขตพื้นที่การ
ศึกษาโดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา และจำนวนประชากรเป็นหลัก รวมทั้งความเหมาะสมด้านอื่นด้วย
ในแต่ละเขตพื้นที่การศึกษาให้มีคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมเขตพื้นที่การ
ศึกษา ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
ประสานส่งเสริมและสนับสนุนสถานศึกษาเอกชนในเขตพื้นที่การศึกษาประสานและส่งเสริมองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นให้สามารถจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายและมาตรฐานการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการ
จัดการศึกษาของบุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถาน
ประกอบการ และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษาในรูปแบบที่หลากหลาย รวมทั้งการกำกับดูแลหน่วยงาน
ด้านศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมในเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรเอกชน ผู้แทนองค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพครู และผู้ประกอบวิชาชีพบริหารการศึกษา ผู้แทนสมาคมผู้
ปกครองและครู ผู้นำทางศาสนาและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม โดยให้ผู้อำนวยการ
สำนักงานการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมเขตพื้นที่การศึกษาเป็นกรรมการและเลขานุการของคณะ
กรรมการ
1.3 ระดับสถานศึกษา ให้แต่ละสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาอุดมศึกษาระดับ ต่ำกว่าปริญญา มีคณะกรรมการสถาน
ศึกษา เพื่อทำหน้าที่กำกับและส่งเสริมสนับสนุนกิจการของสถานศึกษาและจัดทำสาระของหลักสูตรในส่วนที่
เกี่ยวกับสภาพปัญหาในชุมชนและสังคมภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณลักษณะอันพึงประสงค์
คณะกรรมการสถานศึกษาประกอบด้วย ผู้แทน ผู้ปกครอง ผู้แทนครู ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนองค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนศิษย์เก่าของสถานศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็น
กรรมการและเลขานุการของคณะกรรมการ
ทั้งนี้ ให้กระทรวงกระจายอำนาจ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไป
ยังคณะกรรมการและสำนักงานการศึกษาฯ เขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดย
ตรง
ส่วนที่ 2 การบริหารและการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภทตามความพร้อม ความเหมาะสมและ
ความต้องการภายในท้องถิ่น เพื่อเป็นการรองรับสิทธิและการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาขององค์กรปก
ครองส่วนท้องถิ่น ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และ
วิธีการประเมินความพร้อม รวมทั้งประสานและส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดการศึกษา
ได้
ส่วนที่ 3 การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชน สถานศึกษาเอกชนเป็นนิติบุคคลจัดการศึกษาได้ทุกระดับและทุกประเภท มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบ
ด้วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ผู้รับใบอนุญาต ผู้แทนผู้ปกครอง ผู้แทนองค์กรชุมชน ผู้แทนครู ผู้แทนศิษย์
เก่าและผู้ทรงคุณวุฒิ การบริหารและการจัดการศึกษาของเอกชนให้มีความเป็นอิสระ โดยมีการกำกับ ติด
ตาม ประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากรัฐ และต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การประเมินคุณภาพและ
มาตรฐานการศึกษาเช่นเดียวกับสถานศึกษาของรัฐ รวมทั้งรัฐต้องให้การสนับสนุนด้านวิชาการและด้านเงิน
อุดหนุน การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี รวมทั้งสิทธิประโยชน์อื่นตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การกำหนด
นโยบายและแผนการจัดการศึกษาของรัฐของเขตพื้นที่การศึกษา หรือขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้
คำนึงถึงผลกระทบต่อการจัดการศึกษาของเอกชน โดยให้รับฟังความคิดเห็นของเอกชน และประชาชน
ประกอบการพิจารณาด้วย ส่วนสถานศึกษาของเอกชนระดับปริญญา ให้ดำเนินกิจการโดยอิสระภายใต้การ
กำกับดูแลของสภาสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน


หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบ
การประกันคุณภาพภายนอก หน่วยงานต้นสังกัด และสถานศึกษา จัดให้มีระบบการประกับคุณภาพภายใน
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการบริหาร และจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเปิดเผยต่อสา
ธารณชน ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งทุกห้าปี โดยสำนักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมิน
และจัดให้มีการประเมินดังกล่าว รวมทั้งเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน ใน
กรณีที่ผลการประเมินภายนอกไม่ได้มาตรฐานให้สำนักงานรับรองมาตรฐานฯ จัดทำข้อเสนอแนะต่อหน่วย
งานต้นสังกัด ให้สถานศึกษาปรับปรุง ภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการ ให้สำนักงานรับรอง
มาตรฐานฯ รายงานต่อคณะกรรมการต้นสังกัด เพื่อให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขต่อไป


หมวด 7 ครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณ
ภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัดสรรงบประมาณและกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ฯลฯ
ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กรอิสระมีอำนาจหน้าที่กำหนด
มาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐาน
และจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ต้องมีใบ
อนุญาตประกอบวิชาชีพ ทั้งนี้ ยกเว้น ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย จัดการศึกษาในศูนย์การเรียน วิทยากร
พิเศษ และผู้บริหารการศึกษาระดับเหนือเขตพื้นที่การศึกษา ให้ข้าราชการของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาและระดับเขตพื้นที่การศึกษาเป็นข้าราชการ
ในสังกัดองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู ตามหลักการกระจายอำนาจการบริหารงานบุคคลสู่
เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา การผลิตและพัฒนาคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา การพัฒนามาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ
และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการหรือพนักงานของรัฐในสถานศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลให้
เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะของสถานศึกษานั้น ๆ


หมวด 8 ทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ให้มีการระดมทรัพยากรและการลงทุนด้านงบประมาณ การเงิน และทรัพย์สิน ทั้งจากรัฐ องค์กร ปกครอง
ส่วนท้องถิ่น บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา
สถานประกอบการ สถาบันสังคมอื่นและต่างประเทศมาใช้จัดการศึกษา โดยให้รัฐและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น ใช้มาตรการภาษีส่งเสริมและให้แรงจูงใจ รวมทั้งใช้มาตรการลดหย่อน หรือยกเว้นภาษีตามความ
เหมาะสม สถานศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคล มีอำนาจในการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้และจัดหาผลประโยชน์จาก
ทรัพย์สินของสถานศึกษา ทั้งที่เป็นที่ราชพัสดุ และที่เป็นทรัพย์สินอื่น รวมทั้งหารายได้จากบริการของสถาน
ศึกษาที่ไม่ขัดกับภารกิจหลักอสังหาริมทรัพย์ที่สถานศึกษาของรัฐได้มา ทั้งจากผู้อุทิศให้หรือซื้อหรือแลก
เปลี่ยนจากรายได้ของสถานศึกษา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสถานศึกษา บรรดารายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ
ของสถานศึกษาของรัฐดังกล่าว ไม่เป็นรายได้ที่ต้องส่งกระทรวงการคลัง ให้สถานศึกษาของรัฐที่ไม่เป็นนิติบุคคล สามารถนำรายได้และผลประโยชน์ต่าง ๆ มาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายใน
การจัดการศึกษาของสถาบันนั้น ๆ ได้ตามระเบียบที่กระทรวงการคลังกำหนด ให้รัฐจัดสรรงบประมาณแผ่นดินให้กับการศึกษา โดยจัดสรรให้ผู้เรียนและสถานศึกษา ทั้งของรัฐและเอกชน
ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ในรูปเงินอุดหนุนทั่วไปเป็นค่าใช้จ่ายรายบุคคล กองทุนประเภทต่าง ๆ และทุนการ
ศึกษา รวมทั้งให้มีระบบการตรวจสอบ ติดตามและประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการใช้จ่ายงบ
ประมาณการจัดการศึกษาด้วย


หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษารัฐจัดสรรคลื่นความถี่ สื่อตัวนำและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ วิทยุ
โทรคมนาคม และการสื่อสารในรูปอื่นเพื่อประโยชน์สำหรับการศึกษา การทะนุบำรุง ศาสนา ศิลปะและวัฒน
ธรรมตามความจำเป็น รัฐส่งเสริมสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนา การผลิตและพัฒนาแบบเรียน ตำรา สื่อ
สิ่งพิมพ์อื่น วัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอื่น โดยจัดให้มีเงินสนับสนุนและเปิดให้มีการแข่งขัน
โดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ให้มีการพัฒนาบุคลากรทั้งด้านผู้ผลิตและผู้ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาขีดความ
สามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในโอกาสแรกที่ทำได้ อันจะนำไปสู่การแสวงหาความรู้ได้ด้วยตน
เองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ให้มีการระดมทุน เพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา จากเงินอุดหนุนของรัฐ ค่าสัมปทานและ
ผลกำไรที่ได้จากการดำเนินกิจการ ด้านสื่อสารมวลชขน เทคโนโลยีสารสนเทศ และโทรคมนาคมจากทุกฝ่าย
ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชน รวมทั้งให้มีการลดอัตราค่าบริการเป็นพิเศษในการ
ใช้เทคโนโลยี ให้มีหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่พิจารณาเสนอนโยบาย แผน ส่งเสริม และประสานการวิจัย การพัฒนาและการ
ใช้ รวมทั้งการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของการผลิตและการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

บทเฉพาะกาล

1. นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
- ให้กฏหมาย ข้อบังคับ คำสั่ง ฯลฯ เกี่ยวกับการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒน ธรรมเดิมที่ใช้อยู่ยังคงใช้บังคับ
ได้ต่อไป จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
- ให้กระทรวง ทบวง กรม หน่วยงานการศึกษาและสถานศึกษาที่มีอยู่ ยังคงมี ฐานะและอำนาจหน้าที่เช่นเดิม
จนกว่าจะจัดระบบการบริหารและการจัดการศึกษาใหม่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี
- ให้ดำเนินการออกกฎกระทรวง เพื่อแบ่งระดับและประเภทการศึกษาของการ ศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวมทั้งการแบ่งระดับหรือการเทียบระดับการศึกษานอกระบบหรือการศึกษาตามอัธยาศัยให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปี
.
2. ในวาระเริ่มแรก มิให้นำ
- บทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสิบสองปี และการศึกษาภาค บังคับเก้าปี
มาใช้บังคับ จนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินห้าปี
นับจากวันที่รัฐธรรมนูญใช้บังคับ และภายในหกปี ให้กระทรวงจัดให้สถานศึกษาทุกแห่ง
มีการประเมินผลภายนอกครั้งแรก
- นำบทบัญญัติในหมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา และหมวด 7 ครู คณาจารย์และบุคลากรทางการ
ศึกษามาใช้บังคับจนกว่าจะมีการดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องไม่เกินสามปี
- ทั้งนี้ขณะที่การจัดตั้งกระทรวงยังไม่แล้วเสร็จให้นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
และรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้ออกกฎกระทรวงระเบียบ
และประกาศเพื่อปฏิรูปตามพระราชบัญญัตินี้ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของตน
รวมทั้งให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
ทำหน้าที่กระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี


3. ให้จัดตั้งสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นองค์การมหาชนเฉพาะกิจ ทำหน้าที่
- เสนอการจัดโครงสร้าง องค์กร การแบ่งส่วนงาน ตามสาระบัญญัติในหมวดที่ว่า
ด้วยการบริหารและการจัดการศึกษา การจัดระบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา
การจัดระบบทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา
- เสนอร่างกฎหมาย และปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ และคำสั่ง
ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัตินี้
- ตามอำนาจหน้าที่อื่นที่กำหนดในกฎหมายองค์การมหาชน
.
4. คณะกรรมการบริหารสำนักงานปฏิรูปการศึกษามีเก้าคน ประกอบด้วย ประธานกรรมการและกรรมการ
ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ และมีความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารการศึกษา การบริหารรัฐกิจ การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและการคลัง กฎหมายมหาชน และ
กฎหมายการศึกษา ทั้งนี้ ต้องมีผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมิใช่ข้าราชการหรือผู้ปฎิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ไม่น้อย
กว่าสามคน ให้เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการและ
เลขาธิการมีวาระการตำแหน่งวาระเดียว เป็นเวลาสามปี ทั้งนี้ ให้มีคณะกรรมการสรรหา จำนวนสิบห้าคน ทำหน้าที่เสนอชื่อบุคคลที่สมควร เป็นคณะกรรมการบริหาร
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา จำนวนสิบแปดคนเพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริหาร
สำนักงานปฏิรูป จำนวนเก้าคน


มีบุคคลบางจำพวกที่ไม่ต้องเข้ารับราชการทหารกองประจำการในยามปกติสามประเภท ได้แก่ บุคคลที่ได้รับการยกเว้น และบุคคลที่ไม่ต้องมาเข้ารับการตรวจเลือก สองประเภทนี้ไม่ต้องไปรับการตรวจเลือกเลย ส่วนบุคคลที่ได้รับการผ่อนผันต้องเข้ารับการตรวจเลือกทุกปี


บุคคลที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องรับราชการทหารกองประจำการ ได้แก่
(1) พระภิกษุที่มีสมณศักดิ์ หรือที่เป็นเปรียญ และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวนที่มีสมณศักดิ์
(2) คนพิการทุพพลภาพ ซึ่งไม่สามารถเป็นทหารได้
(3) บุคคลซึ่งไม่มีคุณวุฒิที่จะเป็นทหารได้เฉพาะบางท้องที่ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง


บุคคลที่ได้รับการยกเว้น เมื่อลงบัญชีทหารกองเกินแล้วไม่เรียกมาตรวจเลือกรับราชการทหารกองประจำการในยามปกติ ได้แก่
(1) พระภิกษุ สามเณร และนักบวชในพระพุทธศาสนาแห่งนิกายจีนหรือญวน ซึ่งเป็นนักธรรมตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง
(2) นักบวชศาสนาอื่นซึ่งมีหน้าที่ประจำในกิจของศาสนาตามที่กำหนดในกฎกระทรวงและผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(3) บุคคลซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกวิชาทหารตามหลักสูตรที่กระทรวงกลาโหมกำหนดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการฝึกวิชาทหาร
(4) นักเรียนโรงเรียนเตรียมทหารของกระทรวงกลาโหม
(5) ครูซึ่งประจำทำการสอนหนังสือหรือวิชาการต่างๆ ที่อยู่ในความควบคุมของกระทรวง ทบวง กรม หรือราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง และผู้ว่าราชการจังหวัดออกใบสำคัญให้ไว้
(6) นักศึกษาของศูนย์กลางอบรมการศึกษาผู้ใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ
(7) นักศึกษาของศูนย์ฝึกการบินพลเรือนของกระทรวงคมนาคม


บุคคลที่ไม่เข้ารับการตรวจเลือกก็ไม่ถือว่าเป็นการหลีกเลี่ยงขัดขืนการตรวจเลือก ได้แก่
(1) ข้าราชการซึ่งได้รับคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยปัจจุบันทันด่วนให้ไปราชการอันสำคัญยิ่ง หรือไปราชการต่างประเทศโดยคำสั่งของเจ้ากระทรวง
(2) นักเรียนซึ่งออกไปศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
(3) ข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ราชการ หรือโรงงานอื่นใด ในระหว่างที่มีการรบหรือการสงคราม อันเป็นอุปกรณ์ในการรบหรือการสงครามและอยู่ในความควบคุมของกระทรวงกลาโหม
(4) บุคคลซึ่งกำลังปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยทหารในราชการสนาม
(5) เกิดเหตุสุดวิสัย
(6) ไปเข้าตรวจเลือกที่อื่น
(7) ป่วยไม่สามารถจะมาได้ โดยให้บุคคลซึ่งบลุนิติภาวะและเชื่อถือได้มาแจ้งต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก
กรณีตาม (1) (2) (3) หรือ (4) ต้องได้รับการผ่อนผันเฉพาะคราวจากรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย


บุคคลที่ได้รับการผ่อนผัน ต้องไปเข้ารับการตรวจเลือกในวันตรวจเลือก ถ้ามีจำนวนทหารกองเกินที่จะรับราชการเป็นทหารกองประจำการได้มากกว่าจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันแก่บุคคลดังต่อไปนี้
(1) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบิดาหรือมารดาซึ่งไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพหรือชราจนหาเลี้ยงชีพไม่ได้และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู แต่ถ้ามีบุตรหลายคนจะต้องเข้ากองประจำการพร้อมกัน คงผ่อนผันให้คนเดียวตามแต่บิดาหรือมารดาจะเลือก ถ้าบิดาหรือมารดาไม่สามารถจะเลือกได้ก็ให้คณะกรรมการตรวจเลือกพิจารณาผ่อนผันให้หนึ่งคน
(2) บุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงบุตรซึ่งมารดาตายหรือไร้ความสามารถ หรือพิการทุพพลภาพ และบุคคลที่จำเป็นต้องหาเลี้ยงพี่หรือน้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาซึ่งบิดามารดาตาย ทั้งนี้เมื่อบุตรหรือพี่หรือน้องนั้นหาเลี้ยงชีพไม่ได้ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดู
(3) บุคคลที่อยู่ในระหว่างการศึกษาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ผู้อ้างสิทธิตาม (1) หรือ (2) แห่งมาตรานี้ ต้องร้องขอผ่อนผันต่อนายอำเภอท้องที่ก่อนวันตรวจเลือกเข้ากองประจำการไม่น้อยกว่าสามสิบวัน เว้นแต่ในกรณีพิเศษซึ่งไม่ใช่ความผิดของผู้ร้องและผู้ร้องต้องร้องต่อคณะกรรมการตรวจเลือกในวันตรวจเลือกตามมาตรา 30 อีกครั้งหนึ่ง นายอำเภอต้องสอบสวนหลักฐานไว้เสียก่อนวันตรวจเลือก เพื่อคณะกรรมการตรวจเลือกจะได้ตัดสินได้ทันที การขอผ่อนผันตาม (3) ให้แจ้งผ่านทางสถานศึกษา
ถ้าไม่สามารถจะผ่อนผันพร้อมกันทั้งสามประเภทได้ เพราะจะทำให้คนไม่พอจำนวนที่ฝ่ายทหารต้องการ ให้ผ่อนผันคนประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 รวมกันก่อน ถ้าคนยังเหลือจึงผ่อนผันคนประเภทที่ 3 ถ้าจำนวนคนในประเภทใดจะผ่อนผันไม่ได้ทั้งหมดต้องให้คนประเภทนั้นจับสลาก1. คนเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านหรือบิดมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่คนเกิดในบ้านภาย 15 วันนับแต่วันเกิด
2. คนตายให้เจ้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายภายในเวลา 24 ชั่วโมง
3. สูติบัตร เป็นเอกสารแสดงถึง ชื่อตัว ชื่อสกุล สัญชาติ วัน เดือน ปีเกิด ชื่อตัว ชื่อสกุล และสัญชาติของบิดามารดา เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการและมีประโยชน์มาก ต้องเก็บรักษาไว้ให้ดีเพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานได้ทุกโอกาส
4. มรณบัตร เป็นเอกสารสำคัญของทางราชการ ซึ่งเป็นหลักฐานแสดงรายเอียดเกี่ยวกับการตายของบุคคล
5. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่ออกจากบ้านใด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งย้ายที่อยู่ต่อนายทะเบียนผู้มีหน้าที่รับแจ้งภายในเวลาไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันย้ายออก
6. เมื่อมีบุคคลใดย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านใด เจ้าบ้านตะต้องแจ้งการย้ายเข้าที่อยู่ภายใน 15 วัน นับแต่วันย้ายเข้า


กฎหมายพรรคการเมือง


1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในฐานะสมาชิกพรรคการเมือง หรือ กรรมการบริหารพรรค หากเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคที่ตนเป็นสมาชิกอยู่ขัดต่อสถานะการปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีสิทธิขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ให้มติหรือข้อบังคับนั้นถูกยกเลิกไปได้ (มาตรา 65) เพื่อลดความเข้มแข็งของหัวหน้าพรรคการเมือง


2. ห้ามควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสภาในระหว่างอายุของสภา เพื่อป้องกันการเกิดเสียงข้างมากอย่างผิดปกติในสภา (มาตรา 104)


3. ผู้ลงรับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องสังกัดเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ต่ำกว่า 90 วัน ยกเว้นการยุบสภาต้องสังกัดไม่ได้ต่ำกว่า 30 วัน (มาตรา101)


เนื้อหาในส่วนของระบบพรรคการเมือง
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบพรรคการเมืองนั้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550) มีการกล่าวถึงใน 2 หมวดใหญ่ด้วยกัน อันได้แก่ (1) หมวดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย มาตรา 47 และ (2) ในบทเฉพาะกาลมาตรา 328 ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นหลายประการ ดังนี้


1. มาตรา 65 หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย ส่วนที่ 11 เสรีภาพในการชุมนุมและสมาคม ได้มีการกำหนดให้บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง


2. มาตรา 138 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 6 การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ให้มีการบัญญัติพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรมนูญ จำนวน 9 ฉบับซึ่ง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ก็นับเป็นกฎหมายในนั้น โดยในบทเฉพาะกาลมาตรา 295 ได้ระบุว่า ให้สภาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด


ดังนั้น จึงส่งผลให้ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 มีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งพรรคการเมืองไว้ว่า ผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดหรือผู้มีสัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ โดยมีจำนวนตั้งแต่สิบห้าคนขึ้นไปอาจรวมกันดำเนินการจัดตั้งพรรคการเมืองได้ (มาตรา 8) และต้องมีสมาชิกห้าพันคนขึ้นไปภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งการจัดตั้งพรรคการเมือง และกระจายตามภาคและจังหวัดตามที่นายทะเบียนกำหนด และต้องมีสาขาพรรคอย่างน้อยภาคละหนึ่งสาขาภายใน 1 ปี (มาตรา 26)


รายละเอียดต่าง ๆ ว่าด้วยพรรคการเมือง
นอกจากนี้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง ยังระบุรายละเอียด


1) การจัดองค์กรของพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2550 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดองค์กรภายของพรรคการเมืองดังต่อไปนี้


- คณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของพรรคการเมืองให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย นโยบายพรรคการเมือง ข้อบังคับพรรคการเมืองและมติของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและซื่อสัตย์ สุจริตเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน และต้องส่งเสริมความเป็นประขาธิปไตยในพรรคการเมือง (มาตรา17)


- คณะกรรมการบริหารพรรคประกอบด้วย หัวหน้าพรรคการเมือง รองหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรคการเมือง รองเลขาธิการพรรคการเมือง เหรัญญิกพรรคการเมือง นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองโฆษกพรรคการเมืองและคณะกรรมการบริหารอื่นๆ ซึ่งเลือกตั้งจากสมาชิกซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ (มาตรา11)


2) การรวมและการยุบพรรคการเมือง
เจตนารมณ์ของกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับนี้ต้องการแก้ไขข้อบกพร่องของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ.ศ.2541 ที่มีเนื้อหาให้พรรคการเมืองใหญ่มีความเข้มแข็งโดยการส่งเสริมให้ควบรวมและยุบพรรคการเมืองขนาดเล็ก ดังนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงวางหลักเกณฑ์เงื่อนไขส่งเสริมให้พรรคการเมืองยุบพรรคหรือรวมพรรคให้ยากกว่าเดิม เพื่อป้องกันเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรที่เกินจริงอันเนื่องมาจากการที่พรรคการเมืองใหญ่ได้ควบรวมพรรคการเมืองขนาดเล็ก และส่งเสริมให้พรรคการเมืองขนาดเล็กดำรงอยู่ได้ในฐานะที่เป็นตัวแทนทางอุดมการณ์ทางการเมืองหนึ่งของประชาชนที่มีฐานหลากหลายความคิดการเมืองเช่นเดียวกับพรรคการเมืองขนาดใหญ่


ดังนั้น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 จึงข้อบัญญัติว่า ในระหว่างอายุของสภาผู้แทนราษฎร จะมีการควบรวมพรรคการเมืองที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมิได้” (หมวด 5 การควบรวมพรรคการเมือง มาตรา 99) และการรวมพรรคการเมืองอาจกระทำได้ 2 วิธีคือ (1) การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ และ (2) การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก (มาตรา 100)


2.1 การรวมพรรคการเมือง


2.1.1 การรวมพรรคการเมืองเพื่อจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองใหม่ (มาตรา 101) กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ คือ ให้ที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคมีมติเห็นชอบ โดยให้หัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคจำนวนพรรคละ 10 คน ประชุมร่วมกัน เพื่อกระทำการเกี่ยวกับพรรคการเมืองที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ว่าต้องกำหนดนโยบายพรรคการเมือง และกำหนดข้อบังคับพรรคการเมือง และให้นายทะเบยนประกาศคำสั่งการเลือกและการควบรวมพรรคการเมืองในราชกิจจานุเบกษา


2.1.2 การรวมพรรคการเมืองเข้าเป็นพรรคเดียวกับอีกพรรคการเมืองที่เป็นหลัก (มาตรา 103) กฎหมายได้วางหลักเกณฑ์ไว้ดังนี้ คือ ให้แต่ละพรรคขอความเห็นชอบจากที่ประชุมใหญ่ของแต่ละพรรคการเมือง และให้หัวหน้าพรรคทุกพรรคที่ต้องการจะควบรวมกันแจ้งต่อทนายทะเบียน เพื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งสั่งเลิกพรรคการเมืองที่รวมกับพรรคหลักนับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่ง


2.2 การเลิกและการยุบพรรคการเมือง
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 ได้กำหนดไว้ว่าพรรคการเมืองสิ้นสภาพด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้ (มาตรา 91)
1) มีเหตุต้องเลิกตามข้อบังคับพรรคการเมือง
2) ไม่ส่งผู้สมัครเข้ารับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 8 ปี ติดต่อกัน
3) มีจำนวนสมาชิกเหลือไม่ถึง 5,000 คน ภายในระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี
4) ไม่มีการเรียกประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือไม่มีการดำเนินกิจกรรมใดทางการเมืองเป็นระยะเวลาติดต่อกันหนึ่งปี
5) มีการควบรวมกับพรรคการเมืองอื่น
6) มีคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคการเมือง
7) ไม่ดำเนินการตามกฎหมาย อาทิ องค์ประกอบของที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมืองไม่ครบ หรือไม่สามารถหาสมาชิกได้อย่างน้อย 5,000 คน สาขาพรรคอย่างน้อยภาคละ 1 สาขา ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดแจ้งจัดตั้งพรรคการเมือง (ตามมาตรา 26)
3) ระบบเงินสนับสนุนพรรคการเมือง ระบบเงินอุดหนุนพรรคการเมืองโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 ระบบคือ ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) และ ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ (Public Financing) 3.1 ระบบเงินอุดหนุนจากเอกชน (Private Financing) หมายถึง การได้มาซึ่งรายรับของพรรคการเมืองจากผู้สนับสนุนทางการเมืองซึ่งอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือองค์กรทางธุรกิจหรือองค์กรอื่นๆ การบริจาคเงินเพื่อให้พรรคการเมืองนำไปดำเนินการตามนโยบายของพรรคการเมืองนั้นต้องดำเนินไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้และต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (มาตรา 72) ดังนี้
(1) จำต้องทำการบริจาคในนามพรรคการเมืองห้ามบริจาคสมาชิกพรรคเป็นการส่วนตัว (มาตรา 56) และการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไป ให้กระทำโดยเปิดเผยชื่อผู้บริจาคและสามารตรวจสอบได้ (มาตรา 56) และการบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด และหากบริอจาคเป็นตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปต้องสั่งจ่ายเป็นตั๋วแลกเงินหรือเช็คขีดคร่อม (มาตรา 57) นอกจากนั้นกฎหมายยังห้ามให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลบริจาคให้แก่พรรคกาเรมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อปี และหากนิติบุคลใดบริจาคแก่พรรคการเมืองตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไปจะต้องได้รับอนุมัติหรือสัตยาบันโดยมติที่ประชุมหรือผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลนั้นหรือสนมาชิกของนิติบุคคลนั้น (มาตรา 59)

กฎหมายเลือกตั้ง

สถานะของกฎหมายเลือกตั้งภายหลังการยึดอำนาจการปกครอง
รัฐธรรมนูญถูกยกเลิกการใช้บังคับ และส่งผลให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาสิ้นสุดตามไปด้วย เนื่องจากคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) มิได้ออกประกาศให้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ต่อไป
กฎหมายเลือกตั้งในขณะนี้จึงคงอยู่แต่เฉพาะพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2546


โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
วัตถุประสงค์และลักษณะพิเศษของกฎหมายเลือกตั้ง
ตามมาตรา 11
สุจริต ไม่มีการโกง การใช้เงินซื้อเสียง ฯลฯ
เที่ยงธรรม ไม่มีการกลั่นแกล้ง ใส่ร้ายป้ายสี เอารัดเอาเปรียบ ฯลฯ
เรียบร้อย ไม่มีความปั่นป่วน วุ่นวาย
เป็นกฎหมายมหาชน ถือการคุ้มครองประโยชน์ของมหาชนเป็นหลักยิ่งกว่าเอกชน
ใบเหลืองและใบแดงตามกฎหมายเลือกตั้ง
ใบเหลือง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 95)
ใบแดง คือ มติคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งหนึ่งปีและให้จัดการเลือกตั้งใหม่ (มาตรา 96)
มติ กกต.เกี่ยวกับใบเหลืองและใบแดง ไม่ใช่คำวินิจฉัยว่าผู้สมัครทำผิดทางอาญา เว้นแต่จะมีพยานหลักฐาน ฯลฯ
กฎหมายอาญากับการเลือกตั้ง
“No crime, No punishment, without Law”
ไม่มีกฎหมาย ไม่มีความผิด ไม่มีโทษ
Due Process of Law
หลักนิติธรรมตามวิธีพิจารณาความอาญา
1. โทษทางอาญาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถจำแนกประเภทความผิดที่มีโทษทางอาญาได้ตามพฤติการณ์ที่พบว่ามีการร้องเรียนการกระทำความผิด ดังนี้
การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน
การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป
การกระทำความผิดของผู้สมัครรับเลือกตั้งเองหรือผู้สนับสนุน เช่น
ตามมาตรา 57
การ จัดทำ ให้ เสนอให้ สัญญาว่าจะให้ หรือจัดเตรียมเพื่อจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ แก่ผู้ใดหรือแก่ชุมชน วัด สถานศึกษา (1) และ (2)
หาเสียงด้วยการจัดให้มีมหรสพหรือการรื่นเริงต่าง ๆ (3)
เลี้ยงหรือรับจะจัดเลี้ยง (4)
หลอกลวง บังคับ ข่มขู่ ใช้อิทธิพลคุกคาม ใส่ร้าย (5)
การจัดยานพาหนะรับและหรือส่งผู้ใช้สิทธิ ตามมาตรา 58
การกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่
ใช้ตำแหน่งหน้าที่กระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัคร (มาตรา 60) เช่น ลงชื่อแทนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยทุจริต แจ้งจำนวนผู้มาแสดงตนเพื่อใช้สิทธิเลือกตั้งโดยผิดจากความเป็นจริง การกาบัตรเลือกตั้งที่เหลืออยู่โดยทุจริต ฯลฯ
การใช้บัตรเลือกตั้งปลอม การพิมพ์บัตรเลือกตั้งเกินกว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิ
การเปลี่ยนหีบบัตรในระหว่างการจัดส่งหีบบัตรมายังหน่วยนับคะแนน
การจงใจนับบัตรเลือกตั้ง อ่านบัตรเลือกตั้ง นับคะแนนเลือกตั้ง หรือรวมคะแนนเลือกตั้งผิดจากความจริง
การกระทำความผิดของบุคคลอื่นโดยทั่วไป
การจ่าย แจก เงินหรือสิ่งของ การจัดเลี้ยง (มาตรา 81)
เรียก รับ เพื่อลงคะแนน หรือไม่ลงคะแนน (มาตรา 82)
การขัดขวาง หน่วงเหนี่ยวผู้ใช้สิทธิ (มาตรา 80)
2. แนวทางการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง
ต้องนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษให้ได้ตามที่กฎหมายบัญญัติอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกัน
เจ้าหน้าที่ต้องไม่มีอคติทั้ง 4 (คือ ชอบ ชัง กลัว โลภ) ในการดำเนินการกับผู้กระทำผิด
ต้องแสวงหาพยานหลักฐานที่เพียงพอต่อการพิสูจน์ความผิดของจำเลย อย่าให้มีข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่
ผู้กระทำผิดมักเป็นลูกน้อง หัวคะแนน พวกพ้อง หรือญาติพี่น้องของนักการเมืองซึ่งมีอิทธิพลในพื้นที่
มีเรื่องร้องเรียนแต่ละเขตเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ทำให้ระยะเวลาในการรวบรวมพยานหลักฐานแต่ละเรื่องมีน้อย
พยาน หลักฐานที่ชัดแจ้งแสดงถึงการกระทำผิด เช่น ภาพจากกล้องวิดีโอ ภาพถ่าย เทปบันทึกเสียง ฯลฯ มีน้อยไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนเจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวน
3. วิธีการดำเนินคดีอาญากับผู้กระทำผิด
กกต.ควรขอความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่นอกพื้นที่เพื่อทำหน้าที่เป็นชุดรับแจ้งเหตุ และจับกุมการกระทำความผิดในช่วงหาเสียงเพิ่มเติมนอกเหนือจากเจ้าหน้าที่ในพื้นที่
การสืบสวนอาจต้องใช้อาสาสมัครในการเก็บข้อมูลอย่างลับ ๆ และใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ เช่น กล้องวิดีโอ mp3 ที่บันทึกเสียงได้ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการดำเนินคดี
การสอบสวน เจ้าหน้าที่ควรต้องสอบให้ถึงวัตถุประสงค์หรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้งอย่างชัดเจน เช่น การจัดเลี้ยง การบริจาคเงินหรือสิ่งของ โดยอ้างว่าเป็นไปตามวาระแห่งประเพณีนั้น ผู้ถูกกล่าวหาได้จัดงานหรือบริจาคเงินหรือสิ่งของเช่นนี้เรื่อยมาเป็นปกติ หรือไม่
การตั้งคำถาม และการสอบสวน ควรต้องให้ผู้ถูกกล่าวหานำพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง
การสอบสวนผู้ถูกกล่าวหา ควรมีการบันทึกเทปวิดีโอไว้ด้วย เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในศาลที่แสดงถึงพฤติการณ์ของจำเลย เพื่อเพิ่มน้ำหนัก และความน่าเชื่อถือให้มากขึ้น ทั้งทำให้การกลับคำให้การทำได้ยากขึ้น
กกต.ควรกำหนดแนวทางและวิธีปฏิบัติในการตรวจสอบบัญชีค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง ให้ถูกต้องและเคร่งครัดยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันการใช้เงินในการเลือกตั้งมากเกินสมควร ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้สมัครรายอื่น รวมทั้งจัดให้มีการฝึกอบรมแก่เจ้าหน้าที่ของ กกต.อย่างทั่วถึงและเพียงพอ
อุดมการณ์ของเจ้าหน้าที่ กกต.
กกต.เป็นหัวใจที่จะประกันให้การเลือกตั้งบริสุทธิ์ยุติธรรม
เจ้าหน้าที่ กกต.จึงต้องเป็นกลาง มีเหตุผล และเป็นธรรม
การทำงานของ กกต.จึงเป็นการทำงานเพื่อชาติ เพื่อประชาชน
ไม่ใช่เพื่อคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง
(2) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคเงิน หรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวสนเป็นเงินได้ โดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 65)


(3) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคจากผู้กระทำหรือสนับสนุนการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน หรือกระทำการอันเป็นการก่อกวนหรือคุกคามความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำการอันเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ (มาตรา 66)
(4) ห้ามมิให้พรรคการเมืองรับบริจาคจาก (มาตรา 69)
(4.1) บุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย


(4.2) นิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจหรือกิจการหรือจดทะเบียนสาขาอยู่ในหรือนอกราชอาณาจักร
(4.3) นิติบุคคลที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งมีบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทยมีทุนหรือเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละห้าสิบ ในกรณีที่เป็นบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การพิจารณาตามอนุมาตรานี้ ให้พิจารณาในวันกาอนวันที่บริจาคโดยให้ถือทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือซึ่งมัผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(4.4) องค์การหรือนิติบุคคลที่ได้รับทุนหรือได้รับเงินอุดหนุนจากต่างประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการเพื่อประโยชน์ของบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย หรือซึ่งมีผู้จัดการหรือกรรมการเป็นบุคคลผู้ไม่มีสัญชาติไทย
(4.5) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลที่ได้รับบริจาค เพื่อดำนินกิจการของพรรคการเมืองหรือเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองจากบุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
(4.6) บุคคล องค์การ หรือนิติบุคคลตามที่กำหนดในประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง


3.2 ระบบเงินอุดหนุนจากรัฐ เนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฉบับปี พ.ศ. 2550 ส่วนที่ 4 การสนับสนุนพรรคการเมืองโดยรัฐ มาตรา 73 ระบุให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมืองในสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายในการสนับสนุนพรรคการเมืองและการดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวกับการพัฒนาพรรคการเมืองตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด โดยกองทุนประกอบก้วเงินและทรัพย์สินดังต่อไปนื้ (1) เงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่าย
(2) เงินที่ได้รับมาจากกรมสรรพากรตามมาตรา 58
(3) เงินสนับสนุนสมทบจากรัฐตามมาตรา 76
(4) เงินค่าธรรมเนียมการสมัครรับเลือกตั้งตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทยราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
(5) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษทางปกครองหรือทางอาญาต่อผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(6) เงินหรือทรัพย์สินที่พรรคการเมืองได้รับโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญํติประกอบรัฐธรรมนูญนี้
(7) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนตรามมาตรา 96
(8) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อสมทบกองทุน
(9) เงินดอกผลของกองทุน
(10) เงินรายรับอื่น


ทั้งนี้ให้คณะกรรมการเลือกตั้งมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมิอง ควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินทุนหมุนเวียน และพัฒนาพรรคการเมือง (มาตรา 74) โดยแต่งตั้งคณะกรรมการทำหน้าที่แทน ซึ่งประกอบด้วยนายทะเบียนเป็นประธาน กรรมการการเลือกตั้งซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งมอบหมายหนึ่งคน ผู้แทนกระทรวงการคลังหนึ่งคน ผู้แทนสำนักงบประมาณหนึ่งคน ผู้แทนของพรรคการเมืองในสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน ผู้แทนพรรคการเมืองสภาผู้แทนราษฎรที่สมาชิกในสังกัดของพรรคตนมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคน (ผู้แทนของพรรคการเมืองต้องไม่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร) ผู้แทนพรรคการเมืองที่มิได้มีสมาชิกในสังกัดเป็นสมาชิกสภาผ็แทนราษฎรซึ่งเลือกกันเองจำนวนหนึ่งคนและผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนสองคน เป็นกรรมการ และให้เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นกรรมการและเลขานุการ (มาตรา 74)


การจัดสรรเงินให้แก่พรรคการเมือง (มาตรา 75) จะกระทำเป็นรายปีให้แก่พรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกพรรคลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งหลังสุด โดย


(1) ได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของคะแนนเสียงที่พรรคการเมืองทุกพรรคได้รับในการเลือกตั้งแบบสัดส่วนรวมกัน
(2) หรือได้รับคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งไม่น้อยกว่าร้อยละศูนย์จุดห้าของคะแนนเสียงที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งทุกคนได้รับในการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งรวมกันทั้งประเทศ
ทั้งนี้พรรคการเมืองที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรเงินสนับสนุนจะได้รับการจัดสรรเงินตาม


(1) จำนวนคะแนนเสียง จากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนร้อยละ 20 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร จากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ร้อยละ 20 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรร
(2) จำนวนสาขาพรรคการเมือง ได้ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรรร
(3) จำนวนสมาชิกพรรค ที่ชำระค่าบำรุงรายปี ได้ร้อยละ 10 ของจำนวนเงินทั้งหมดที่จัดสรรร
อย่างไรก็ตามคณะกรรมการการเลือกตั้งไม่สามารถจัดสรรเงินให้พรรคการเมืองใดพรรคเมืองหนึ่งเกินกว่ากึ่งหนึ่งของวงเงินทั้งหมดที่จัดสรรไม่ได้


นอกจากนั้นคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจในการลดหรือเลิกการจัดสรรเงินสนับสนุนแก่พรรคการเมืองได้ ดังนี้ (มาตรา 78)


(1) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 2 ครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคลงกึ่งหนึ่งจากที่คำนวนได้
(2) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 3 ครั้งติดต่อกัน ให้ลดเงินสนับสนุนพรรคลง 3 ใน 4 จากที่คำนวนได้
(3) ในกรณีที่สมาชิกของพรรคไม่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งทั่วไปเกิน 4 ครั้งติดต่อกัน และ/หรือพรรคการเมืองที่ไม่ได้ส่งสมาชิกลงเลือกตั้งทั่วไป ให้เลิกให้เงินสนับสนุนพรรค


อีกทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งอาจกำหนดให้พรรคการเมืองได้รับการสนับสนุนในเรื่อง ค่าไปรษณียากร ค่าโทรศัพท์ หรือค่าโทรคมนาคมอื่น การจัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่ของพรรคการเมือง ค่าเช่าสำนักงานพรรคการเมือง หรือสาขาพรรคการเมือง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเช่าสถานที่จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง หรือจัดประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมืองหรือเพื่อการหาเสียงเลือกตั้ง เป็นต้น (มาตรา 81)



หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา

กฎหมายแพ่งในชีวิตประจำวัน

1. กฎหมายแพ่ง เป็นกฎหมายเอกชนว่าด้วยเรื่องสิทธิ หน้าที่ และความสัมพันธ์ ระหว่างเอกชนต่อเอกชน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย กฎหมายแพ่งของไทยบัญญัติในรูปของประมวลกฎหมายรวมกับกฎหมายพาณิชย์ รวมเรียกว่า กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีสาระพอสังเขป ได้ดังนี้
1.1 บุคคล หมายถึง สิ่งซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มี 2 ประเภท คือ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
1.1.1 บุคคลธรรมดา หมายถึง มนุษย์ซึ่งมีสภาพบุคคล และสิ้นสภาพบุคคลโดยการตายตามธรรมชาติ หรือตายโดยการสาบสูญ (กรณีปกติ 5 ปี และกรณีไม่ปกติ 2 ปี คือ อยู่ในระหว่างการรบสงคราม ประสบภัยในการเดินทาง เหตุอันตรายต่อชีวิต)
1.1.2 นิติบุคคล หมายถึง สิ่งที่กฎหมายรับรองให้เป็นสภาพบุคคลสมมุติ ให้มีสิทธิหน้าที่เหมือนบุคคลธรรมดา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) นิติบุคคลตามประมวลกกหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่
1) กระทรวง ทบวง กรม
2) วัดวาอาราม ที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสงฆ์
3) ห้างหุ้นส่วนที่ได้จดทะเบียนแล้ว
4) บริษัทจำกัด
5) มูลนิธิ สมาคม
ข) นิติบุคคลตามกฎหมายอื่น ได้แก่ นิติบุคคลที่มีกฎหมายพิเศษรับรองสถานะ เช่น พรรคการเมือง รัฐวิสาหกิจ สหกรณ์
1.2 ทรัพย์ กฎหมายได้แยกลักษณะของทรัพย์สินออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ
1.2.1 สังหาริมทรัพย์ ได้แก่
ก) ทรัพย์ทั้งหลายอันอาจเคลื่อนที่ได้ จากที่แห่งหนึ่งไปแห่งอื่น ไม่ว่าเคลื่อนด้วยแรงเดินแห่งตัวทรัพย์นั้นเอง หรือ ด้วยกำลังภายนอก เช่น
1) เคลื่อนที่ด้วยแรงของทรัพย์นั้นเอง เช่น หมู ช้าง วัว ควาย ฯลฯ
2) เคลื่อนด้วยกำลังภายนอก เช่น รถยนต์ คอมพิวเตอร์ โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ
ข) กำลังแรงแห่งธรรมชาติอันอาจถือเอาได้ เช่น ก๊าซ กระแสไฟฟ้า
ค) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์นั้นด้วย เช่น ลิขสิทธิ์ สิทธิจำนำ สิทธิจำนอง สิทธิเครื่องหมายการค้า ฯลฯ
1.2.2 อสังหาริมทรัพย์ ได้แก่
1) ที่ดิน
2) ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินนั้น เช่น ตึก โรงเรือน บ้าน ไม้ยืนต้นต่างๆ ฯลฯ
3) ทรัพย์อันประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดิน เช่น หิน กรวด ทราย
4) สิทธิทั้งหลายอันเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น สิทธิครอบครอง สิทธิจำนอง กรรมสิทธิ์ในที่ดิน
1.3 นิติกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ที่ชอบด้วยกฎหมายและใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
การแสดงเจตนาของนิติกรรมอาจจะแสดงด้วยวาจา ลายลักษณ์อักษร หรือการนิ่งก็ได้
นิติกรรมแม้จะทำด้วยใจสมัคร ก็มีข้อบกพร่อง ถ้ากฎหมายเข้าไปควบคุมและไม่อนุญาตให้ทำ โดยมี 2 ลักษณะ
1. โมฆะกรรม หมายถึง การกระทำใดๆ ลงไป โดยเสียเปล่า ไม่มีผลผูกพันธ์ใดๆ ได้แก่
1.1 นิติกรรมที่ต้องห้ามโดยกฎหมายชัดแจ้ง เช่น ทำสัญญาจ้างให้กระทำผิดกฎหมาย จ้างฆ่าคน
1.2 นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำสัญญาซื้อขายดวงอาทิตย์
1.3 นิติกรรมที่เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
1.4 นิติกรรมผิดแบบ เช่น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ การเช่าซื้อต้องทำหนังสือ หากไม่ปฏิบัติก็ตกเป็นโมฆะ
2. โมฆียกรรม หมายถึง นิติกรรมที่มีผลต่อคู่กรณี แต่ไม่สมบูรณ์โดยกฎหมาย เนื่องจากความสามารถของผู้กระทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ ผู้เสมือนไร้ความสามารถ ผู้ไร้ความสามารถ เป็นต้น หากมีการให้การรับรอง นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์ หรือ บอกล้างได้ภายใน 10 ปี ก็จะตกเป็นโมฆะกรรม
1.4 สัญญา เป็นนิติกรรมชนิดหนึ่ง สัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องมีคู่สัญญาถูกต้องตามสาระสำคัญ และมีวัตถุประสงค์ไม่ต้องห้ามตามกำหมาย หรือขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ได้แก่
1.4.1 สัญญากู้ยืมเงิน
การกู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ลงลายมือชื่อผู้ยืม จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.4.2 สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย คือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ โดยผู้ซื้อตกลงจะชำระราคาทรัพย์สินให้แก่ผู้ขาย หากพูดถึงการซื้อขาย ก็จะต้องกล่าวถึง สัญญาจะซื้อจะขาย ซึ่งส่วนให้จะทำสัญญากันก่อน ก่อนซื้อขายส่งมอบทรัพย์สินกันจริง หลักเกณฑ์พิจารณาได้ดังนี้
สัญญาจะขายหรือจะซื้อ หรือคำมั่นในการซื้อขาย ทรัพย์สินประเภท อสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางเงินมัดจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ และกฎหมายยังบังคับถึง สัญญาซื้อขาย สังหาริมทรัพย์ ที่มีราคาตั้งแต่ 20,000 บาทขึ้นไปด้วย ที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
สัญญาซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (พนักงานที่ดิน) หากไม่ทำถือว่าเป็นโมฆะ
1.4.3 สัญญาขายฝาก
สัญญาขายฝาก หมายถึง สัญญาซื้อขายที่ผู้ขาย มีสิทธิไถ่ถอนได้ทรัพย์คืนตามเวลาที่กำหนด หากไม่ไถ่ถอนภายในกำหนด กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น ก็จะตกไปยังผู้ซื้อนับตั้งแต่เวลาที่ทำสัญญากัน
1.4.4 สัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อ หมายถึง สัญญาที่เจ้าของทรัพย์ เอาทรัพย์ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือให้ทรัพย์สินนั้นแก่ผู้เช่า โดยมีเงื่อนไข ว่าต้องชำระเงินครบตามคราวที่กำหนด และที่สำคัญ สัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นถือเป็นโมฆะ
เจ้าของทรัพย์บอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า 2 งวดติดต่อกัน หรือผู้เช่าซื้อผิดสัญญาในข้อที่เป็นสาระสำคัญ โดยผู้ให้เช่าซื้อได้เงินค่าเช่าที่ชำระไปแล้วทั้งหมดและเรียกทรัพย์คืนได้
1.4.5 สัญญาจำนอง
สัญญาจำนอง หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนองเอาทรัพย์สิน ประเภท อสังหาริมทรัพย์ เรือ แพ หรือ เครื่องจักร ไปจดทะเบียนจำนองเป็นประกันการชำระหนี้
ลักษณะสำคัญของสัญญาจำนอง
1. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของทรัพย์ที่จำนอง
2. ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่
3. ผู้จำนองจะนำทรัพย์สินที่ติดจำนองไปจำนองแก่ผู้อื่นอีกในระหว่างที่สัญญาจำนองอันแรกยังมีอายุอยู่ก็ได้
1.4.6 สัญญาจำนำ
สัญญาจำนำ หมายถึง สัญญาที่ผู้จำนำ ส่งมอบทรัพย์สินประเภท สังหาริมทรัพย์ แก่ผู้รับจำนำและตกลงว่าจะมาไถ่ถอนตามวันและเวลาที่กำหนด หากไม่มาไถ่ถอน ผู้รับจำนำมีสิทธิในทรัพย์สินนั้น
1.4.7 สัญญาค้ำประกัน
สัญญาค้ำประกัน หมายถึง การที่ผู้ค้ำประกันทำสัญญากับเจ้าหนี้ว่า เมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้ว ตนจะชำระหนี้แทน สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้
1.5 ครอบครัว
1.5.1 การหมั้น หมายถึง การที่ฝ่ายชาย ตกลงกับฝ่ายหญิง ว่าจะสมรสกับหญิงนั้น โดยมีของหมั้นเป็นประกัน สาระสำคัญของการหมั้น
1. การหมั้นนั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ผู้เยาว์จะทำการหมั้นต้องได้รับความยินยอมจากบิดา มารดาหรือผู้ปกครอง
2. ถ้าหมั้นแล้วสมรส ของหมั้นจะกลายเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง
3. ถ้าหมั้นแล้วไม่สมรส
3.1 เนื่องจากความผิดของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงยึดของหมั้นได้
3.2 เนื่องจากความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นให้ฝ่ายชาย ชายเรียกสินสอดคืนได้
3.3 ฝ่ายที่เสียหายเรียกค่าทดแทนได้
3.4 จะฟ้องให้ศาลบังคับให้มีการสมรสไม่ได้
1.5.2 การสมรส
1. การสมรสจะกระทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงอายุ 17 ปีบริบูรณ์ หากอายุต่ำกว่านี้ต้องให้ศาลอนุญาต
2. การสมรส จะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อ จดทะเบียนต่อหน้านายทะเบียน
ผู้ที่กฎหมายห้ามสมรส
1. ชายหรือหญิงที่วิกลจริต หรือศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
2. ชายหญิงที่เป็นญาติสืบสายโลหิตเดียวกัน เช่น พ่อแม่
ลูก หรือ พี่ น้อง ที่มีพ่อแม่ร่วมกัน
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรม
4. ชายหรือหญิงที่มีคู่สมรสอยู่แล้ว
หญิงที่เคยสมรสแล้ว เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงไม่ว่า เพราะสามีตาย หรือหย่า จะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
1. การสมรสได้สิ้นสุดลงไปอย่างน้อย 310 วัน
2. สมรสกับคู่สมรสเดิม
3. คลอดบุตรในระหว่างนั้น
4. มีใบรับรองแพทย์ว่าไม่ตั้งครรภ์
5. ศาลสั่งให้สมรสได้
การสิ้นสุดของการสมรส
1. ตาย ไม่ว่าจะตายโดยธรรมชาติ หรือสาบสูญ
2. การหย่า
2.1 การหย่าโดยความยินยอมกันทั้งสองฝ่าย ต้องทำเป็นหนังสือ โดยมีพยานอย่างน้อย 2 คน หรือ จดทะเบียนหย่า
2.2 การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
- เพราะมีอีกฝ่ายหนึ่งมีความผิด เช่น สามีอุปการะยกย่องหญิงอื่นฉันท์ภรรยา ภรรยามีชู้ สามีหรือภรรยาไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ ประพฤติชั่ว
- เพราะการสาบสูญ หรือ ความเจ็บป่วย เช่น ร่วมประเวณีกันไม่ได้
1.5.3 การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม
1. บุคคลผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี และต้องอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี หากผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมยังเป็นผู้เยาว์ ต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดา หรือ ผู้แทน โดยชอบธรรม และคู่สมรส ด้วย (ยกเว้นคู่สมรสวิกลจริตหรือสาบสูญเกินกว่า 1 ปี )
2. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ ถ้าจดทะเบียนตามกฎหมาย บุตรบุญธรรมจะมีฐานะเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกำหมายทุกประการ ขณะเดียวกันก็ไม่เสียสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ให้กำเนิด กฎหมายถือว่า บิดา-มารดาโดยกำเนิด หมดอำนาจปกครองนับตั้งแต่วันที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น
3. การเลิกรับบุตรบุญธรรม จะเลิกได้เมื่อทั้งคู่ยินยอมซึ่งกันและกัน หากบุตรบุญธรรมอายุต่ำกว่า 15 ปี จะฟ้องเลิกรับบุตรบุญธรรมไม่ได้ เว้นแต่ผู้มีสิทธิให้ความยินยอมในการรับบุตรบุญธรรมยินยอม
4. เมื่อเลิกรับบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมกลับคืนสู่ฐานะในครอบครัวเดิม
1.5.4 มรดก
1. มรดกย่อมตกทอดแก่ทายาททันทีที่เจ้าของมรดกตายหรือสาบสูญ
2. ทายาท
2.1 ทายาทโดยธรรม ได้แก่ คู่สมรส และญาติสนิท สิทธิการรับมรดกจะแบ่งให้ลดลงตามความห่างของญาติ ถ้าเจ้าของมรดก มีบิดามารดา คู่สมรสและบุตรทุกคน จะได้คนละเท่ากันคนละส่วน
2.2 ทายาทโดยพินัยกรรม
ในกรณีเจ้าของมรดก มีคู่สมรสต้องแบ่งทรัพย์สินแก่อีกฝ่ายหนึ่งก่อน ส่วนที่เหลือจึงเป็นมรดกตกทอดต่อไป
2.3 ผู้ที่จะทำพินัยกรรมได้ต้องมีอายุ 1 5ปีขึ้นไป และต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถ
2.4 การเสียมรดก
2.4.1 ทายาทโดยชอบธรรมยักย้ายถ่ายเท ปิดบังทรัพย์มรดก โดยทุจริต
2.4.2 ทายาทตามพินัยกรรม หลอกลวงหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมขึ้น













กฎหมายอาญา


กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด ตัวบทที่สำคัญๆ ของกฎหมายอาญาก็คือ ประมวลกฎหมายอาญา นอกจากประมวลกฎหมายอาญาแล้ว ยังมีพระราชบัญญัติอื่นๆที่กำหนดโทษทางอาญาสำหรับการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินั้น เช่น พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พระราชบัญญัติการพนัน เป็นต้น
ทุกสังคมย่อมมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับความประพฤติของสมาชิกในสังคมนั้นๆ บุคคลใดมีการกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ จัดเป็นการกระทำความผิดทางอาญา ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงเป็นกฎหมายซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการป้องกันสังคม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยโดยการกำหนดว่า การกระทำใดเป็นความผิดอาญาและได้กำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืน กระทำความผิดนั้นๆ

 ความผิดทางอาญา

ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1.1 ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้


กรณีตัวอย่างที่ 1 นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน


กรณีตัวอย่างที่ 2 นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

1.2 ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น


กรณีตัวอย่างที่ 1 นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋ เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้


กรณีตัวอย่างที่ 2 นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้
2.1 เป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง ในขณะกระทำความผิดต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้แล้วอย่างชัดแจ้งว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เจ้าหน้าที่ผู้ใช้กฎหมายจะสร้างกฎหมายใหม่ขึ้นมาใช้บังคับแก่ประชาชนคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะไม่ได้ เช่น กฎหมายบัญญัติว่า การลักทรัพย์เป็นความผิดดังนั้น ผู้ใดลักทรัพย์ก็ย่อมมีความผิดเช่นเดียวกัน
2.2 เป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง เป็นโทษไม่ได้แต่เป็นคุณได้ ถ้าหากในขณะที่มีการกระทำสิ่งใดยังไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด แม้ต่อมาภายหลังจะมีกฎหมายบัญญัติว่าการกระทำอย่างเดียวกันนั้นเป็นความผิด ก็จะนำกฎหมายใหม่ใช้กับผู้กระทำผิดคนแรกไม่ได้

 ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญา

กรณีตัวอย่าง นายมะม่วงมีต้นไม้สักขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นในที่ดิน ซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของเขา นายมะม่วงได้ตัดต้นสัก เลื่อยแปรรูปเก็บเอาไว้ ก่อนที่จะมีพระราชบัญญัติป่าไม้ ฉบับที่ 3 ออกมาบังคับใช้ ถือว่าไม้สักเป็นไม้หวงห้ามก็ตาม นายมะม่วงก็ไม่มีความผิด เพราะจะใช้กฎหมายใหม่ย้อนหลังลงโทษทางอาญาไม่ได้

3. โทษทางอาญา
1) ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย
2) จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
3) กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
4) ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
5) ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อ
4.1 กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
กรณีตัวอย่างที่ 1 นายฟักรู้ว่านายแฟง ซึ่งเป็นศัตรูจะต้องเดินผ่านสะพานข้ามคลองหลังวัดสันติธรรมทุกเช้าเวลาประมาณ 08.00 น. เขาจึงไปดักซุ่มอยู่ใกล้บริเวณนั้น เมื่อนายแฟงเดินมาใกล้นายฟักจึงใช้ปืนยิงไปที่นายแฟง 1 นัด กระสุนปืนถูกบริเวณหน้าอกของนายแฟง เป็นเหตุให้นายแฟงถึงแก่ความตาย นายฟักมีความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา
กรณีตัวอย่างที่ 2 ดาวเรืองทะเลาะกับบานชื่น ดาวเรืองพูดเถียงสู้บานชื่นไม่ได้ ดาวเรืองจึงตบปากบานชื่น 1 ที่ ดาวเรืองมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายโดยเจตนา
4.2 กระทำโดยไม่เจตนา แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้ โดยแจ้งชัดให้รับผิดแม้กระทำโดยไม่เจตนากระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้ เช่น เราผลักเพื่อนเพียงจะหยอกล้อเท่านั้น แต่บังเอิญเพื่อนล้มลงไป ศีรษะฟาดขอบถนนถึงแก่ความตาย เป็นต้น
4.3 กระทำโดยประมาท แต่ต้องเป็นกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาทการกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
กรณีตัวอย่าง นายเหิรฟ้าใช้อาวุธปืนขู่นายเหิรลม เพื่อไม่ให้เอาแป้งมาป้ายหน้านายเหิรฟ้า โดยที่นายเหิรฟ้าไม่รู้ว่าอาวุธปืนกระบอกนั้น มีลูกกระสุนปืนบรรจุอยู่ เป็นเหตุให้กระสุนปืนลั่นไปถูกนายเหิรลมตาม นายเหิรฟ้ามีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
อนึ่ง การกระทำไม่ได้หมายความเฉพาะถึงการลงมือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงการงดเว้นการกระทำโดยประสงค์ให้เกิดผลและเล็งเห็นผลที่จะเกิดเช่น แม่จงใจทิ้งลูกไม่ให้กินข้าว จนทำให้ลูกตาย ตามกฎหมายแม่มีหน้าที่จะต้องเลี้ยงดูลูก เมื่อแม่ละเลยไม่ทำหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นเหตุให้ลูกตาย ย่อมเป็นการกระทำความผิดโดยงดเว้น ถ้าการงดเว้นนั้นมีเจตนางดเว้นก็ต้องรับผิดในฐานะกระทำโดยเจตนา ถือว่าเป็นความผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา

4. บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาและได้รับโทษทางอาญาเมื่อใด
1. การกระทำอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดซึ่งเป็นไปตามหลักที่ว่า ไม่มีความผิดโดยปราศจากกฎหมาย
2. กฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นต้องกำหนดโทษไว้ด้วย เป็นไปตามหลักที่ว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมายการลงโทษต้องเป็นโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เช่น กฎหมายกำหนดโทษปรับศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ แม้ศาลจะลงโทษปรับศาลก็ลงโทษปรับเกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ได้
กรณีตัวอย่าง ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 372 บัญญัติว่า ผู้ใดทะเลาะกันอย่างอื้ออึงในทางสาธารณะ หรือสาธารณสถานหรือกระทำโดยประการอื่นใด ให้เสียความสงบเรียบร้อยในทางสาธารณะหรือสาธารณะสถานต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ดังนั้น ถ้าผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรานี้ศาลจะลงโทษจำคุกไม่ได้ เพราะความผิดตามมาตราดังกล่าวกำหนดเฉพาะโทษปรับเท่านั้น ถ้าศาลจะลงโทษปรับก็จะปรับได้ไม่เกิน 500 บาท

บุคคลจะต้องได้รับโทษทางอาญาต่อเมื่อ

โดยหลักทั่วไปแล้วบุคคลใดกระทำความผิดต้องรับโทษ แต่มีบางกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษ เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษนั้น เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ลงโทษผู้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด หมายความว่า ผู้กระทำยังมีความผิดอยู่แต่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ต่างกับกรณียกเว้นความผิด ซึ่งผู้กระทำไม่มีความผิดเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามทั้งเหตุยกเว้นและหยุดยกเว้นความผิดต่างก็มีผลทำให้ผู้กระทำรับโทษเหมือนๆกัน
เหตุยกเว้นโทษทางอาญา
การกระทำความผิดอาญาที่ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษถ้ามีเหตุอันจะอ้างได้ตามกฎหมาย เช่น
1. การกระทำความผิดด้วยความจำเป็น
2. การกระทำความผิดเพราะความบกพร่องทางจิต
3. การกระทำความผิดเพราะความมึนเมา
4. การกระทำตามคำสั่งของเจ้าพนักงาน
5. สามีภริยากระทำความผิดต่อกันในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์บางฐาน
6. เด็กอายุไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด
5. เหตุที่กฎหมายไม่ลงโทษ
6. เด็กและเยาวชนกระทำความผิด
เด็กอาจกระทำความผิดได้เช่นเดียวผู้ใหญ่ แต่การกระทำความผิดของเด็กอาจได้รับโทษต่างจากการกระทำของผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กเป็นผู้อ่อนเยาว์ ปราศจากความรู้สึกรับผิดชอบหรือขาดความรู้สึกสำนึกเท่าผู้ใหญ่ การลงโทษเด็กจำต้องคำนึงถึงอายุของเด็ก ผู้กระทำความผิดด้วย กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี
สำหรับเด็กในช่วงอายุไม่เกิน 7 ปี และเด็กอายุกว่า 7 ปีแต่ไม่เกิน 14 ปีเท่านั้น ที่กฎหมายยกเว้นโทษให้ ส่วนผู้ที่อายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี และผู้ที่มีอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี หากกระทำความผิดกฎหมายก็จะไม่ยกเว้นโทษให้ เพียงแต่ให้รับลดหย่อนโทษให้
6.1 เด็กอายุไม่เกิน 7 ปีการกระทำความผิด เด็กไม่ต้องรับโทษเลย ทั้งนี้เพราะกฎหมายถือว่าเด็กในวัยนี้ยังไม่สามารถรู้ผิดชอบได้ ฉะนั้นจะมีการจับกุมฟ้องร้อยเกในทางอาญามิได้
6.2 เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปีกระทำความผิด เด็กนั้นก็ไม่ต้องรับโทษเช่นกัน แต่กฎหมายให้อำนาจศาลที่จะใช้วิธีการสำหรับเด็ก เช่น
1) ว่ากล่าวตักเตือนเด็กนั้นแล้วปล่อยตัวไป
2) เรียกบิดามารดา ผู้ปกครองหรือบุคคลที่เด็กนั้นอาศัยอยู่มาตักเตือนด้วยก็ได้
3) มอบตัวเด็กให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองไป โดยวางข้อกำหนดให้บิดามารดาหรือผู้ปกครองระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
4) มอบเด็กให้แก่บุคคลที่เด็กอาศัยอยู่ เมื่อเขายอมรับข้อกำหนดที่จะระวังเด็กนั้นไม่ให้ก่อเหตุร้าย
5) กำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติ
6) มอบตัวเด็กให้กับบุคคลหรือองค์การที่ศาลเห็นสมควร เพื่อดูและอบรมและสั่งสอนเด็กในเมื่อบุคคลหรือองค์การนั้นยินยอม
7) ส่งตัวเด็กนั้นไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรม หรือสถานที่ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อฝึกและอบรม
6.3 เยาวชนอายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี กระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ให้ศาลพิจารณาถึงความรู้ผิดชอบและสิ่งอื่นทั้งปวงเกี่ยวกับผู้นั้นในอันควรวินิจฉัยว่าสมควรพิพากษาลงโทษผู้นั้นหรือไม่ศาลอาจใช้วิธีการตามข้อ 6.2 หรือลงโทษเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ โดยลดมาตราส่วนโทษที่จะใช้กับเยาวชนนั้นลงกึ่งหนึ่ง ก่อนที่จะมีการลงโทษเยาวชนผู้กระทำความผิด
6.4 เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปีกระทำความผิด ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กระทำอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด ถ้าศาลเห็นสมควรจะลดมาตราส่วนโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งก็ได้จะเห็นได้ว่า ผู้ที่อายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี กฎหมายไม่ถือว่าเป็นเด็ก แต่กฎหมายก็ยอมรับว่า บุคคลในวัยนี้ยังมีความคิดอ่านไม่เท่าผู้ใหญ่จริง จึงไม่ควรลงโทษเท่าผู้ใหญ่กระทำความผิด โดยให้ดุลพินิจแก่ศาลที่จะพิจารณาว่า สมควรจะลดหย่อนผ่อนโทษให้หรือไม่ ถ้าศาลพิจารณาสิ่งต่างๆที่เกี่ยวกับผู้กระทำความผิด เช่น ความคิดอ่าน การศึกษาอบรม ตลอดจนพฤติการณ์ในการกระทำความผิด เช่น กระทำความผิดเพราะถูกผู้ใหญ่เกลี้ยกล่อม หากศาลเห็นสมควรลดหย่อนผ่อนโทษให้ก็มีอำนาจลดมาตราส่วนโทษได้ 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งการลดมาตราส่วนโทษ คือ การลดอัตราโทษขั้นสูงและโทษขั้นต่ำลง 1 ใน 3 หรือกึ่งหนึ่งแล้ว จึงลงโทษระหว่างนั้น แต่ถ้ามีอัตราโทษขั้นสูงอย่างเดียวก็ลดเฉพาะอัตราโทษขั้นสูงนั้น แล้วจึงลงโทษจากอัตราที่ลดแล้วนั้น
กรณีตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2516 จำเลยอายุ 19 ปี ยอมมีความรู้สึกผิดชอบน้อย ได้กระทำความผิดโดยเข้าใจว่าผู้ตายข่มเหงน้ำใจตน ศาลเห็นสมควรลดมาตราส่วนโทษลง 1 ใน 3


สรุปสาระสำคัญ

1. กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่ว่าด้วยความผิดและโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิด
2. ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ
3. การกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ความผิดต่อแผ่นดิน และความผิดอันยอมความกันได้
4. ลักษณะสำคัญของกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่กำหนดเป็นความผิดชัดแจ้ง หรือเป็นกฎหมายที่ไม่มีผลย้อนหลัง
5. โทษทางอาญา มี 5 ชนิด
1. ประหารชีวิต 2. จำคุก
3. กักขัง 4. ปรับ
5. ริบทรัพย์สิน
6. กระทำโดยเจตนา คือ การกระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผลหรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น
7. กระทำโดยไม่เจตนา คือ ผู้กระทำไม่ได้ประสงค์ต่อผล หรือไม่อาจเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นได้
8. การกระทำโดยประมาท คือ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวัง ซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้น จะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านี้ได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
9. กฎหมายได้แบ่งการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนออกเป็น 4 ช่วงอายุ คือ
1) เด็กอายุไม่เกิน 7 ปี
2) เด็กอายุกว่า 7 ปี แต่ยังไม่เกิน 14 ปี
3) เยาวชนอายุเกินกว่า 14 ปีแต่ไม่เกิน 17 ปี
4) เยาวชนอายุกว่า 17 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี