หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

กฎหมายคืออะไร

เชื่อ ได้เลยว่าทุกคนหรือแทบจะทุกคนในสังคมคงจะรู้จักคำๆนี้เป็นอย่างดี แต่หากจะให้อธิบายความหมายของคำนี้ หลายๆคนคงไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ ซึ่งจริงๆแล้วแม้แต่ในทางวิชาการก็มีการให้นิยามความหมายแตกต่างกันออกไปมาก มาย เนื่องจากเป็นการยากที่จะนิยามความหมายออกมาให้ครอบคลุมได้ทั้งหมด แต่พอจะสรุปได้ดังนี้

กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้บรรลุ เป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม

มนุษย์ ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความ สงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนว ทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง

ความสำคัญของกฏหมาย


ใน สังคมของมนุษย์นั้นมีสมาชิกจำนวนมากที่มีความแตกต่างกัน ทั้งด้านความคิดเห็นและพฤติกรรมต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีกฎระเบียบหรือกติการ่วมกัน เพื่อเป็นบรรทัดฐานสำคัญในการควบคุมความประพฤติของมนุษย์ และช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยให้กับสังคม ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย กฎหมายมีความสำคัญต่อสังคมในด้านต่างๆ ดังนี้

1.กฎหมาย สร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย ความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
2. กฎหมายเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ พลเมืองไทยทุกคนต้องปฏิบัติตนตามข้อบังคับของกฎหมาย ถ้าใครฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามต้องได้รับโทษ กฎหมายจะเกี่ยวข้องกับ การดำรงชีวิตของเราตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย

3. กฎหมายก่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคม คนเราทุกคนย่อมต้องการความ ยุติธรรมด้วยกันทั้งสิ้น การที่จะตัดสินว่าการกระทำใดถูกต้องหรือไม่นั้น ย่อมต้องมีหลักเกณฑ์ ฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นกฎเกณฑ์สำคัญที่เป็นหลักของความยุติธรรม

4. กฎหมายเป็นหลักในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน การกำหนดนโยบายพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าไปในทางใด หรือคุณภาพของพลเมืองเป็นอย่างไร จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาใช้บังคับ เพื่อให้ได้ผลตามเป้าหมายของการพัฒนาที่กำหนดไว้ ดังจะเห็นได้จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้บุคคลมีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้น ฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี โดยรัฐเป็นผู้จัดการศึกษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บ ค่าใช้จ่ายนั้น ย่อมส่งผลให้ คุณภาพด้านการศึกษาของประชาชนสูงขึ้น หรือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนทุกคนมีหน้าที่ พิทักษ์ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติ ภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ย่อมทำให้สังคมและสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนมีมาตรฐานดีขึ้น
ดังนั้น การที่ประเทศใดจะพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เป็นไปในแนวทางใดก็ตามถ้าได้ มีบทบัญญัติของกฎหมายเป็นหลักการให้ทุกคนปฏิบัติตาม ก็ย่อมทำให้การพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชนประสบผลสำเร็จได้สูงกว่าการปล่อยให้เป็นไปตามวิถีการ ดำเนินชีวิตของสังคมตามปกติ


องค์ประกอบของกฏหมาย


ประชาชน ได้แก่ ผู้กระทำผิด หรือผู้เสียหาย ดังนั้นประชาชนต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฏหมายในชีวิตประจำวันเพื่อรักษาผล ประโยชน์ของตนเอง พนักงาน ฝ่ายปกครองและตำรวจ ได้แก่ เจ้าพนักงานที่กฏหมายให้อำนาจและหน้าที่ในการใช้กฏหมายเพื่อรักษาความสงบ เรียบร้อย ซึ่งได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้

พนักงาน ฝ่ายปกครอง เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ปลัดอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวน จับกุม ป้องกัน ปราบปรามผู้กระทำผิด
ตำรวจ ตามประมวลกฏหมายอาญา ตำรวจมีหน้าที่สืบสวน จับกุม สอบสวน เปรียบเทียบปรับ แต่ไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมบุคคลที่ทำความผิดทางแพ่ง
เจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจจับกุม ป้องกัน ปราบปรามการกระทำผิดตามกฏหมายฉบับใดฉบับหนึ่ง เช่น พนักงานป่าไม้ ตำรวจศุลกากร เป็นต้น

พนักงานอัยการ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ตรวจสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนว่าสมควรฟ้องหรือไม่ใน คดีอาญา และทำหน้าที่เป็นทนายโจทย์หรือทนายจำเลย ว่าความให้ส่วนราชการในคดีแพ่ง ทนายความ คือ นักกฏหมายที่จดทะเบียนและได้รับอนุญาต โดยมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงจากฝ่ายโจทย์หรือจำเลยเสนอต่อศาลเพื่อพิจารณา ศาลยุติธรรม คือ ผู้ที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษา ซึ่งมี 3 ระดับ คือ ผู้พิพากษาชั้นต้น ผู้พิพากษาชั้นอุทธรณ์ และผู้พิพากษาศาลฏีกา พนักงานบังคับคดีและพนักงานราชทัณฑ์ มีหน้าที่บังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาล


ประเภทของกฏหมาย

(๑) พิจารณาจากความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี (๒) พิจารณาโดยพิจารณาจากลักษณะแห่งการใช้กฎหมาย
๑. การแบ่งแยกประเภทโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี กล่าวคือ แบ่งแยกโดยพิจารณาจากความสัมพันธ์ทางกฎหมาย หรือ นิติสัมพันธ์ระหว่างคู่กรณี/คู่สัญญา ได้แก่ (๑) กฎหมายเอกชน (Private Law) (๒) กฎหมายมหาชน (Public Law) (๓) กฎหมายระหว่างประเทศ (International Law) กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงสิทธิ หน้าที่และความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ซึ่งสังเกตได้ว่า ฐานะของคู่กรณี (ประธานและ/หรือกรรม) มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน กฎหมายเอกชนสามารถยกตัวอย่างกฎหมายที่สำคัญที่เรียกในหมู่นักนิติศาสตร์ว่า กฎหมายสี่มุมเมืองได้ดังนี้
กฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ทางกฎหมายของเอกชนทางแพ่งและทางพาณิชย์ พิจารณาได้จากบรรพ (หมวด) ต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น ๖ บรรพ ๑๗๕๕ มาตรา ดังต่อไปนี้
บรรพ ๑ หลักทั่วไป (มาตรา ๑-๑๙๓) แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ บุคคล
ลักษณะ ๓ ทรัพย์
ลักษณะ ๔ นิติกรรม
ลักษณะ ๕ ระยะเวลา
ลักษณะ ๖ อายุความ
บรรพ ๒ หนี้ (มาตรา ๑๙๔-๔๕๒) แบ่งออกเป็น ๕ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ สัญญา
ลักษณะ ๓ จัดการงานนอกสั่ง
ลักษณะ ๔ ลาภมิควรได้
ลักษณะ ๕ ละเมิด
บรรพ ๓ เอกเทศสัญญา (มาตรา ๔๕๓-๑๒๙๗) แบ่งออกเป็น ๒๓ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ ซื้อขาย
ลักษณะ ๒ แลกเปลี่ยน
ลักษณะ ๓ ให้
ลักษณะ ๔ เช่าทรัพย์
ลักษณะ ๕ เช่าซื้อ
ลักษณะ ๖ จ้างแรงงาน
ลักษณะ ๗ จ้างทำของ
ลักษณะ ๘ รับขน
ลักษณะ ๙ ยืม
ลักษณะ ๑๐ ฝากทรัพย์
ลักษณะ ๑๑ ค้ำประกัน
ลักษณะ ๑๒ จำนอง
ลักษณะ ๑๓ จำนำ
ลักษณะ ๑๔ เก็บของในคลังสินค้า
ลักษณะ ๑๕ ตัวแทน
ลักษณะ ๑๖ นายหน้า
ลักษณะ ๑๗ ประนีประนอมยอมความ
ลักษณะ ๑๘ การพนันและขันต่อ
ลักษณะ ๑๙ บัญชีเดินสะพัด
ลักษณะ ๒๐ ประกันภัย
ลักษณะ ๒๑ ตั๋วเงิน
ลักษณะ ๒๒ หุ้นส่วนและบริษัท
ลักษณะ ๒๓ สมาคม
บรรพ ๔ ทรัพย์สิน (มาตรา ๑๒๙๘-๑๔๓๔) แบ่งออกเป็น ๘ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ กรรมสิทธิ์
ลักษณะ ๓ ครอบครอง
ลักษณะ ๔ ภาระจำยอม
ลักษณะ ๕ อาศัย
ลักษณะ ๖ สิทธิเหนือพื้นดิน
ลักษณะ ๗ สิทธิเก็บกิน
ลักษณะ ๘ ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
บรรพ ๕ ครอบครัว (มาตรา ๑๔๓๕-๑๕๙๘) แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ การสมรส
ลักษณะ ๒ บิดามารดากับบุตร
ลักษณะ ๓ ค่าอุปการะเลี้ยงดู
บรรพ ๖ มรดก (มาตรา ๑๕๙๙-๑๗๕๕) แบ่งออกเป็น ๖ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
ลักษณะ ๒ สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
ลักษณะ ๓ พินัยกรรม
ลักษณะ ๔ วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
ลักษณะ ๕ มรดกที่ไม่มีผู้รับ
ลักษณะ ๖ อายุความ
กฎหมาย อาญา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดความประพฤติของคนในสังคม ว่าการกระทำอย่างไรต้องห้ามกระทำ หากกระทำต้องรับโทษ ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยแบ่งออกเป็น ๓ ภาค
ภาค ๑ บทบัญญัติทั่วไป (มาตรา ๑-๑๐๖) แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดทั่วไป
ลักษณะ ๒ บทบัญญัติที่ใช้แก่ความผิดลหุโทษ
ภาค ๒ ความผิด (มาตรา ๑๐๗-๓๖๖) แบ่งเป็น ๑๒ ลักษณะ
ลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
ลักษณะ ๒ ความผิดเกี่ยวกับการปกครอง
ลักษณะ ๓ ความผิดเกี่ยวกับความยุติธรรม
ลักษณะ ๔ ความผิดเกี่ยวกับศาสนา
ลักษณะ ๕ ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน
ลักษณะ ๖ ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชน
ลักษณะ ๗ ความผิดเกี่ยวกับการปลอมและการแปลง
ลักษณะ ๘ ความผิดเกี่ยวกับการค้า
ลักษณะ ๙ ความผิดเกี่ยวกับเพศ
ลักษณะ ๑๐ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
ลักษณะ ๑๑ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพและชื่อเสียง
ลักษณะ ๑๒ ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
ภาค ๓ ลหุโทษ (มาตรา ๓๖๗-๓๙๘)
กฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการหรือขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีความ แพ่ง การฟ้องร้องบังคับคดีในทางทรัพย์สินหรือบังคับให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำ การอย่างหนึ่งอย่างใด หรือห้ามกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด มีขั้นตอนตั้งแต่การฟ้องคดี การยื่นฟ้องคดี การไต่สวนมูลฟ้อง การชี้สองสถาน การสืบพยาน การพิจารณาคดีของศาล การชั่งน้ำหนักคำพยาน การพิจารณาพิพากษา การอุทธรณ์ ฎีกา ตลอดจนการบังคับคดี
กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการหรือขั้นตอนในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีความ อาญาเพื่อให้ศาลพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด กฎหมายนี้ได้กำหนดวิธีการยื่นฟ้องคดีต่อศาล การร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง อำนาจสั่งฟ้อง การประทับรับฟ้อง การพิจารณาพิพากษาคดี การชั่งน้ำหนักพยาน การพิพากษา ตลอดจนการบังคับคดี (ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน)
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าพนักงานของรัฐ กับเอกชน โดยฐานะของคู่กรณีฝ่ายปกครองอยู่เหนือกว่าประชาชน (เอกชน) สามารถยกตัวอย่างให้เห็นได้ดังนี้
กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมาย รัฐธรรมนูญถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศเหตุเพราะมาตรา ๖ แห่งรัฐธรรมนูญ บัญญัติว่า รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันบังคับมิได้กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อวางระเบียบในการปกครองประเทศ และกำหนดบทบาทหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ รวมตลอดจนถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน
กฎหมายปกครอง
กฎหมายปกครองเป็นกฎหมายที่กำหนดสถานะและความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายปกครอง (หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ) กับรัฐ และต่อประชาชน (เอกชน) เช่น กฎหมายเกี่ยวกับโครงสร้างทางปกครอง (การบริหารราชการแผ่นดินส่วนกลาง เช่น กระทรวง ทบวง กรมการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค เช่น จังหวัด การบริหารราชการแผ่นดินส่วนท้องถิ่นเช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล) การกระทำทางปกครอง ความรับผิดทางปกครอง การควบคุมฝ่ายปกครองโดยศาลปกครอง เป็นต้น
กฎหมายการคลังและการภาษีอากร
กฎหมาย การคลังและภาษีอากรเป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้ารัฐและหน่วยงานของ รัฐ การจัดการทรัพย์สินที่เป็นเงินตราของรัฐ เช่น การเก็บรักษา การจัดทำบัญชี และการใช้จ่ายเงินของรัฐโดยงบประมาณแต่ละปี
กฎหมาย ระหว่างประเทศ ได้แก่ กฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับรัฐ ซึ่งที่มาของกฎหมายระหว่างประเทศมีที่มาด้วยกันอยู่หลายแหล่งได้แก่ จารีตประเพณีระหว่างประเทศที่ปฏิบัติสืบเนื่องมา สนธิสัญญา (Treaty) ความตกลงระหว่างประเทศ (Convention)
กฎหมายระหว่างประเทศสามารถแบ่งเป็นแผนกคดีต่าง ๆ ได้ ๓ แผนก
๑. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
หมาย ถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ของบุคคลที่มีข้อพิพาทเกี่ยวเนื่องกับต่างประเทศ ในเรื่องต่าง ๆ เช่น สัญชาติ การเปลี่ยนสัญชาติ การโอนสัญชาติ ทรัพย์สิน นิติกรรมสัญญา เป็นต้น
๒. กฎหมายระหว่างประเทศแผนคดีเมือง
หมาย ถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ เช่น การกำหนดอาณาเขตของรัฐ หลักเกณฑ์ในการจัดทำสนธิสัญญาต่าง ๆ หรือ ภาวะสงคราม เป็นต้น
๓. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
หมายถึง กฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์รัฐในทางอาญา เช่นการกำหนดเขตอำนาจศาล การส่งผู้ร้ายข้ามแดน เป็นต้น


ศักดิ์ของกฎหมาย


( hierachy of law) คือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมาการ จัดศักดิ์ของกฎหมายมีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่าง ๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ และการยกเลิกกฎหมาย เช่น หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่อยู่ในลำดับต่ำกว่าจะมีเนื้อหาขัดหรือแย้งกับกฎหมายสูง กว่านั้นมิได้ และอาจถูกยกเลิกไปโดยปริยาย เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมาย เกณฑ์ในการกำหนดศักดิ์ของกฎหมายได้แก่ การพิจารณาจากผู้ตรากฎหมายฉบับนั้น ๆ ซึ่งย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ สำหรับประเทศไทยนั้น รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยผู้แทนของปวงชนคือรัฐสภา เป็นการที่สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาร่วมกันใช้อำนาจสูงสุดแห่งรัฐในการออก กฎหมาย จึงให้มีศักดิ์สูงสุด ส่วนที่มีศักดิ์รองลงมาได้แก่ พระราชบัญญัติและพระราชกำหนด ซึ่งได้รับการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงผ่านไปยังวุฒิสภา เป็นการแยกกันใช้อำนาจ ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย ว่ากันแต่ประเทศไทยในปัจจุบัน มีทั้งกฎหมายลายลักษณ์อักษร กฎหมายจารีตประเพณี และหลักกฎหมายทั่วไป แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ากฎหมายส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในรูปลายลักษณ์อักษร มากที่สุด กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดรูปแบบการปกครองและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดจนรับรองและส่งเสริมสิทธิต่าง ๆ ของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยยังเป็นกฎหมายแม่บทของกฎหมายอื่นทุกฉบับ กฎหมายอื่นจึงจะขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญมิได้ มิเช่นนั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้เลย มักมีผู้เรียก "รัฐธรรมนูญ" ว่า "กฎหมายรัฐธรรมนูญ" พึงทราบว่า "กฎหมายรัฐธรรมูญ" (: constitutional law) นั้นเป็นคำเรียกสาขาวิชาทางนิติศาสตร์และเรียกกฎหมายมหาชนแขนงหนึ่งซึ่งว่า ด้วยการวางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง ส่วน "รัฐธรรมนูญ" (: Constitution) นั้นคือกฎหมายจริง ๆ ฉบับหนึ่งซึ่งจัดระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ กฎหมายชนิดนี้อยู่ในรูปของพระราชบัญญัติในประเทศไทย และมีศักดิ์เดียวกันกับพระราชบัญญัติแต่มีวิธีการตราที่พิสดารกว่าพระราช บัญญัติเนื่องเพราะเป็นกฎหมายที่อธิบายรายละเอียดต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ และประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายชั้นรองลงมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเป็นกฎหมายที่ถือได้ว่าคลอดออกมาจากท้องของรัฐธรรมนูญโดยตรง องค์กรที่มีหน้าที่ตรากฎหมายสองประเภทนี้ได้แก่รัฐสภา พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจในการตราให้แก่ฝ่ายบริหารคือคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ใช้ในกรณีรีบด่วนหรือฉุกเฉิน พระราชกำหนดนั้นเมื่อมีการประการใช้แล้วคณะรัฐมนตรีต้องนำเสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ถ้ามิได้รับความเห็นชอบก็เป็นอันสุดสุดลง แต่ผลของการสิ้นสุดลงนี้ไม่กระทบกระเทือนบรรดาการที่ได้กระทำลงระหว่างใช้ พระราชกำหนดนั้น พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่กำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นหลักการย่อย ๆ ของพระราชบัญญัติหรือของพระราชกำหนด เปรียบเสมือนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญซึ่งมีหน้าที่อธิบายขยายความใน รัฐธรรมนูญ กฎองค์การบัญญัติ เป็นกฎหมายที่องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นตราขึ้นและใช้บังคับภายในเขตอำนาจ ของตน ได้แก่ ข้อบังคับตำบล เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา เนื่องจากอำนาจในการตรากฎหมายประเภทนี้ได้รับมาจากพระราชบัญญัติ โดยทั่วไปจึงถือว่ากฎองค์การบัญญัติมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติชั่วแต่ว่า ใช้บังคับภายในเขตใดเขตหนึ่งเป็นการทั่วไปเท่านั้น กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกโดยฝ่ายบริหารและไม่ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากรัฐสภา มีลักษณะคล้ายพระราชกฤษฎีกาเพราะศักดิ์ของผู้ตราต่างกัน รองศาสตราจารย์ทัชชมัย ฤกษะสุต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า "เมื่อ พระราชกฤษฎีกากับกฎกระทรวงมีความใกล้เคียงกันมาก ข้อที่พิจารณาให้เห็นถึงความแตกต่างกันว่าควรจะออกกฎหมายในรูปพระราชกฤษฎีกา หรือกฎกระทรวงนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เนื้อหาของกฎหมายที่ต้องการบัญญัตินั้นมีความสำคัญเพียงใด ซึ่งหากมีความสำคัญเป็นอย่างมากจะออกมาในรูปของพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีความสำคัญน้อยกว่าก็ออกในรูปของกฎกระทรวง


ผลการจัดศักดิ์ของกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร


1. การออกกฎหมายที่มีศักดิ์ของกฎหมายต่ำกว่าจะออกได้โดยอาศัยอำนาจจากกฎหมายที่ มีศักดิ์สูงกว่าหรือตามที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้อำนาจไว้ 2. กฎหมายที่มีศักดิ์ต่ำกว่าซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจของกฎหมายศักดิ์สูงกว่า จะออกมาโดยมีเนื้อหาเกินกว่าขอบเขตอำนาจที่กฎหมายศักดิ์สูงกว่าให้ไว้มิได้ มิฉะนั้นจะใช้บังคับมิได้เลย
3. หากเนื้อหาของกฎหมายมีความขัดแย้งกัน ต้องใช้กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าบังคับ ไม่ว่ากฎหมายศักดิ์สูงกว่านั้นจะออกก่อนหรือหลังกฎหมายศักดิ์ต่ำกว่านั้น


ที่มาของกฎหมาย

1. กฎหมายลายลักษณ์อักษร คือ กฎหมายที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติตามแบบพิธีและขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยตราขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศให้ประชาชนทราบ เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เป็นต้น กฎหมายของไทยส่วนใหญ่ที่ศาลหรือผู้ใช้นำมาปรับแก่คดีคือ กฎหมายลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ
2. กฎหมายจารีตประเพณี คือ กฎหมายที่ไม่ได้มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนได้ประพฤติตามแบบอย่างกันมาเป็นเวลาช้านานโดยรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดี งามและถูกต้อง และรัฐใช้ข้อปฏิบัติเหล่านี้เสมือนกฎหมายอย่างหนึ่ง โดยมีศาลยุติธรรมรับรองกฎหมายจารีตประเพณี
3. หลักกฎหมายทั่วไป คือ หลักเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป ของกฎหมายที่ยึดหลักความเป็นธรรมซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป โดยศาลยุติธรรมเป็นผู้รับรองหลักกฎหมายว่ามีฐานะเป็นกฎหมายและมีผลบังคับใช้ ได้